อริยสัจ 4 ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ที่พระโคตมพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ และ เพื่อนิพพาน เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยบุคคล หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ
ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์ หรือขันธ์ 5 ⠀ ⠀⠀ ⠀ ⠀
สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์อย่างแท้จริง คือ ความทะยานอยาก ทำให้มีภพอีก เป็นไปกับความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ ⠀ ⠀⠀ ⠀ ⠀
นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ( ก็ข้อนี้แลเป็นความดับทุกข์ ) ( ความดับโดยสิ้นกำหนัด โดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นแหละใด ) จาโค ความสละตัณหานั้น , ปะฏินิสสัคโค ความวางตัณหานั้น , มุตติ การปล่อยตัณหานั้น , อะนาละโย ความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น [1]⠀ ⠀
มรรค คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่นิโรธหรือนำไปถึงความดับทุกข์ ความดับโดยสิ้นกำหนัด โดยไม่เหลือแห่งตัณหา มีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ
1. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ
2. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ
4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ
5. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ
6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ
7. สัมมาสติ ระลึกชอบ
8. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ
ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง ⠀ ⠀
มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงในไตรสิกขา ได้ดังนี้
1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ
2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ
3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ
พรหมวิหาร 4หรือ พรหมวิหารธรรม เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์เฉกเช่นพรหม เป็นแนวธรรมปฏิบัติของผู้ที่ปกครอง และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ ได้แก่
เมตตา คือ ความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า
กรุณา คือ ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของปวงสัตว์
มุทิตา คือ ความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตผ่องใสบันเทิง ประกอบด้วยอาการแช่มชื่นเบิกบานอยู่เสมอ ต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ดำรงในปกติสุข พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป
อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา คือมีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตาชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ พร้อมที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้งรู้จักวางเฉยสงบใจมองดู ในเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำ เพราะเขารับผิดชอบตนได้ดีแล้ว เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง หรือเขาควรได้รับผลอันสมกับความรับผิดชอบของตน
ถาม เราควรยึดธรรมะข้อใด
มาปรับใช้ในวิถีชีวิตเรา
เพื่อมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จนักกฎหมาย ?
และธรรมะมีส่วนช่วยให้
เราประสบความสำเร็จจริงหรือคะ ?
ตอบ ธรรมะที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จ
คือ อิทธิบาท 4 ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
มีใจรัก รู้จักพากเพียร
เวียนใฝ่ใจ ใคร่ครวญเสมอ”
ตัวอย่างเช่นสมัยเด็กๆ
แอดมินชอบอ่านหนังสือ
เกิดแรงบันดาลใจอยากเรียนหนังสือ
ก็ทุ่มเท ขวนขวานหาทางเรียนจนได้
ตรงนั้นเรียกว่าฉันทะ
หรือความมีใจรักการเรียน การอ่านหนังสือ
พอมีกำลัง อยู่กับการอ่านหนังสือได้ทั้งวันทั้งคืน
มีความสุขที่ได้ทำ ตรงนั้นคือวิริยะ
มีความเอาใจใส่ ตั้งใจแน่วแน่กับการอ่านหนังสือ
ย่อมทำให้การอ่านหนังสือนั้นสำเร็จลุล่วงไปในเวลารวดเร็ว ตรงนั้นคือจิตตะ
นำสิ่งที่ได้จากการอ่านมาลงมือทำ
เพื่อไปสู่จุดหมายที่ต้องการ มีการประเมินผล
มีการคิดใหม่ทำใหม่เมื่อของเก่าล้มเหลว
หรือหาทางลัดเข้าถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น
ตรงนั้นคือวิมังสา”
แอดมินเพิ่งนึกออกตอนหลัง
ว่าสิ่งที่ทำ เรียกว่ามีอิทธิบาทสี่ในตัว
ตามตำรากล่าวไว้ว่า “ศัพท์อย่างเช่น ‘อิทธิบาท’
แค่ทำหน้าที่แจกแจงความจริง
แต่ไม่ใช่สิ่งที่ต้องท่องจำเป็นคำๆ เสียก่อน
แล้วถึงจะเป็นคนมีอิทธิบาทได้
ตรงข้าม บางคนรู้ความหมายของอิทธิบาท
แต่ก็อาจไม่ได้มีไฟอิทธิบาททั้ง ๔ เจิดจ้าในตัวก็ได้
ธรรมะอีกบทหนึ่งที่สำคัญคือ
พรหมวิหาร 4
เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
หากเราอยากกำหนดอนาคตของเราเอง
ด้วยการลงมือทำปัจจุบันให้ดีที่สุด
ให้เริ่มต้นด้วยการ เป็นสุข ด้วยบุญแห่งตนเอง
แล้วมีความปรารถนาให้ใครต่อใครเป็นสุข
เรียกว่า "เมตตา"
การทำบุญ หรือลงมือช่วยเหลือผู้อื่น
แบบไม่เลือกหน้า เรียกว่า กรุณา
การพลอยยินดีกับเรื่องดีของคนอื่น
หมายถึงว่าเมื่อเห็นใครได้ดี มีสุข มีความเจริญรุ่งเรือง
ประสบความสำเร็จทางโลกหรือทางธรรม
ก็เกิดความแช่มชื่นโสมนัสตาม
เช่นเห็นเพื่อนสอบได้ก่อนก็ดีใจด้วย
เรียกว่า "มุทิตา"
วิธีการที่เราจะเป็นสุขกับ
ความสุขความเจริญของคนและสัตว์ไม่เลือกหน้า
คือต้องแผ่เมตตาและกรุณา
ให้มากจนเกิดสมาธิ จิตตั้งมั่น
ปีติสุขเยือกเย็นได้
โดยไม่ต้องมีใบหน้าใคร
เป็นเครื่องเหนี่ยวนำ
ทำได้อย่างนั้น
ธรรมชาติของใจเราจะต่างจากเดิม
จิตของเราจะพลอยยินดีกับใครต่อใคร
ไปเองโดยไม่ต้องฝืน
สิ่งสุดท้ายที่สำคัญที่สุด
และคนเรามักจะขาดไป
คือ อุเบกขา หมายถึง
การวางใจเป็นกลางต่อสิ่งต่างๆ
เห็นตามความเป็นจริงว่าใครทำอย่างไร
ย่อมได้รับผลสอดคล้องตามนั้น
ผิดว่าตามผิด ถูกว่าตามถูก
ไม่ปล่อยให้ความรักหรือความเกลียด
มาครอบงำได้ จิตจึงเป็นอิสระ
หรือเรียกอีกอย่างว่า ปล่อยวางอย่างมีปัญญา
ในฐานะที่เรากำลังเตรียมสอบ
เรามีหน้าที่เตรียมตัวสอบให้ดีที่สุด
แต่ไม่ว่าจะเตรียมตัวยังไงก็ยังสอบตก
แม้เราจะจิตตกเสียอกเสียใจยังไง
ก็เปล่าประโยชน์
แต่ด้วยจิตที่สมดุล
เราก็หาจุดบกพร่องของตนเองแก้ไข
เตรียมตัวสอบใหม่
นี่คือการปล่อยวางอย่างมีปัญญา
ไม่ใช่นิ่งเฉยหรือมีปฏิกิริยาปรุงแต่งตอบโต้
แต่เป็นการลงมือทำอย่างแท้จริง
ด้วยจิตสมดุลเป็นอุเบกขา
ถ้ามีองค์ทั้ง ๔ ของพรหมวิหารนี้ครบ
ก็จะมีใจเป็นสุขอยู่กับตนเอง
และมีพลังในการสร้างสรรปัจจุบันให้ดี
เพื่อผลแห่งอนาคตที่ดี
ที่อยู่เหนือคำทำนายของหมอดูได้ค่ะ
พรหมวิหาร 4
ความหมายของพรหมวิหาร 4
- พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่
เมตตา
ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
กรุณา
ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา
ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
อุเบกขา
การรู้จักวางเฉย
คำอธิบายพรหมวิหาร 4
1. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้
และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น
2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย
ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
- ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และ
ความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์
- ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์
3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง
4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
สังคหวัตถุ 4
สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่
1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้
2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
เว้นจากการพูดเท็จ
เว้นจากการพูดส่อเสียด
เว้นจากการพูดคำหยาบ
เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย
อิทธิบาท 4
คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ
๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น
ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน
ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ
วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง
จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่
วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่
อริยสัจ 4
มีความจริงอยู่ 4 ประการคือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4
1. ทุกข์
คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์
2. สมุทัย
คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง
3. นิโรธ
คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน
4. มรรค
คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค 8 ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบาน พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความรู้แจ้งนี้
พรหมวิหาร 4 คือหลักธรรมครองใจ ที่ทำให้คนปฏิบัติในทางประเสริฐทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ประกอบด้วย เมตตา
กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
แก่นของพรหมวิหาร 4 นั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้สำหรับผู้บริหาร ผู้จัดการ หรือหัวหน้างาน เพื่อทำให้ผู้ใต้บังคับ
บัญชาทำงานอย่างมีความสุขและเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ ซึ่งจะเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
ได้อีกด้วย
1. เมตตา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข
การเห็นลูกน้องมีความสุข เป็นสิ่งที่หัวหน้าต้องคำนึงถึง หัวหน้าควรดูแลเอาใจใส่สนับสนุนการทำงาน เพื่อให้ลูกน้อง
รู้สึกว่าตนไม่ได้โดดเดี่ยว อบอุ่น และมีความสุขในการทำงานมากขึ้น
2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
หากการทำงานเกิดปัญหาหรืออุปสรรค สิ่งแรกที่หัวหน้าควรทำ การพูดคุย สอบถามถึงปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมชี้แนะ
แนวทางการแก้ไขและพูดให้กำลังใจกับลูกน้อง โดยไม่ปล่อยให้ลูกน้องต้องเผชิญปัญหาเพียงลำพัง
3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
เมื่อลูกน้องประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะทางด้านการงาน ด้านครอบครัว หรือในทุกๆด้าน หัวหน้าควรแสดงความยินดี
ต่อลูกน้องด้วยความจริงใจ ลูกน้องจะรู้สึกว่าตนเป็นคนสำคัญและรู้สึกภูมิใจมากยิ่งขึ้น
4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย ทำใจเป็นกลาง
หัวหน้าควรวางใจเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่อย่างยุติธรรมหากลูกน้องคนหนึ่งได้รับ
การช่วยเหลือ แต่อีกคนหนึ่งกลับไม่ได้รับการช่วยเหลือเมื่อพบปัญหา ถือว่าไม่มีความยุติธรรมในการบริหาร ควรให้
ความช่วยเหลือลูกน้องให้เท่าเทียมกัน ไม่ปฏิบัติเอนเอียงด้วยความรักหรือความชัง
พรหมวิหาร 4 ยังเป็นตัวอย่างของหลักธรรม ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้สำหรับผู้ปกครอง ผู้นำ และหัวหน้างานหน่วยต่างๆ ได้ เนื่องจากหากนำหลักพรหมวิหาร 4 มาบริหารองค์กร และบุคลากรแล้ว นอกจากจะทำให้ทุกคนทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสุข ยังช่วยให้บรรยากาศในสถานที่ทำงาน น่าทำงานยิ่งขึ้นอีกด้วย โดยสามารถยกตัวอย่างพรหมวิหาร 4 ที่ใช้เป็นธรรมะประจำใจสำหรับการบริหารงาน ดังนี้
1. เมตตา : หัวหน้าเอาใส่ใจ ดูแล สนับสนุนการทำงานของลูกน้อง ให้คำแนะนำด้วยความเมตตา และปรารถนาดี สร้างบรรยากาศความสุขด้านการทำงาน
2. กรุณา : หากการทำงานเกิดอุปสรรค หัวหน้าควรสอบถามปัญหา ชี้แนะแนวทางแก้ไข ไม่ปล่อยให้ลูกน้องแก้ปัญหาอย่างโดดเดี่ยวเพียงลำพัง
3. มุทิตา : เมื่อลูกน้องประสบความสำเร็จในเรื่องงาน หรือเรื่องต่างๆ ควรแสดงความยินดีด้วยความจริงใจ เพื่อให้ลูกน้องเห็นถึงความใส่ใจที่มีต่อพวกเขา
4. อุเบกขา : การรู้จักวางตัวเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในการบริหารงาน ไม่เอนเอียง ให้ความช่วยเหลืออย่างเท่าเทียมกัน
สติปัฏฐาน 4 (ที่ตั้งของสติ, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมันเอง - foundations of mindfulness)
1. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณากายให้รู้เห็นตามเป็นจริง ว่า เป็นเพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา - contemplation of the body; mindfulness as regards the body) ท่านจำแนกปฏิบัติไว้หลายอย่าง คือ อานาปานสติ กำหนดลมหายใจ 1 อิริยาบถ กำหนดรู้ทันอิริยาบถ 1 สัมปชัญญะ สร้างสัมปชัญญะในการกระทำความเคลื่อนไหวทุกอย่าง 1 ปฏิกูลมนสิการ พิจารณาส่วนประกอบอันไม่สะอาดทั้งหลายที่ประชุมเข้าเป็นร่างกายนี้ 1 ธาตุมนสิการ พิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็นธาตุแต่ละอย่างๆ 1 นวสีวถิกา พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ อันแปลกกันไปใน 9 ระยะเวลา ให้เห็นคติธรรมดาของร่างกาย ของผู้อื่นเช่นใด ของตนก็จักเป็นเช่นนั้น 1
2. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา - contemplation of feelings; mindfulness as regards feelings) คือ มีสติรู้ชัดเวทนาอันเป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆ ก็ดี ทั้งที่เป็นสามิส และเป็นนิรามิสตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ
3. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงจิต ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา - contemplation of mind; mindfulness as regards thoughts) คือ มีสติรู้ชัดจิตของตนที่มีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ เศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว ฟุ้งซ่านหรือเป็นสมาธิ ฯลฯ อย่างไรๆ ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ
4. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา - contemplation of mind-objects; mindfulness as regards ideas) คือ มีสติรู้ชัดธรรมทั้งหลาย ได้แก่ นิวรณ์ 5 ขันธ์ 5 อายตนะ 12 โพชฌงค์ 7 อริยสัจ 4 ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญบริบูรณ์ และดับไปได้อย่างไร เป็นต้น ตามที่เป็นจริงของมันอย่างนั้นๆ.
อริยสัจธรรม ๔ ประการ ได้แก่
ทุกขอริยสัจ ความทุกข์ ได้แก่การเกิด แก่ ตาย การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความปรารถนาที่ไม่สมหวังเป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
ทุกขสมุทยอริยสัจ เหตุเกิดแห่งความทุกข์ ได้แก่ ตัณหา ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อันทําให้เกิดในภพใหม่อีก
ทุกขนิโรธอริยสัจ ความดับทุกข์ ได้แก่การดับตัณหา ไม่เหลือด้วยมรรค คือวิราคะ สละคืน ไม่พัวพัน
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ได้แก่มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ
ทุกขอริยสัจ เป็นธรรมที่ควรกําหนดรู้ คือ ศึกษาให้รู้ให้เข้าใจ ทุกข์ตามสภาพที่เป็นจริงว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นต้น
ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นธรรมที่ควรละ คือ กําจัดตัณหาอัน เป็นเหตุที่ทําให้เกิดทุกข์ ให้หมดสิ้นไป
ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นธรรมที่ควรทําให้แจ้ง เพื่อความหมดสิ้นจากกิเลส ถึงพระนิพพาน
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นธรรมที่ควรเจริญ คือ ศึกษาข้อปฏิบัติให้เข้าใจในมรรคทั้ง ๘ แล้วกระทําตามมรรคนั้น ซึ่งจะเป็นทางนําไปสู่จุดหมาย เพื่อบรรลุถึงพระนิพพานในที่สุด
วจีสุจริต ๔
อัปปมัญญา ๔
อัปปมัญญา หมายความว่า แผ่ไปไม่มีประมาณ แผ่ไปในสัตว์ทั้งหลายจนประมาณ ไม่ได้ โดยไม่เลือกที่รักที่ชังเลย บ้างก็เรียกว่า พรหมวิหาร หมายความว่า ธรรมอันเป็น เครื่องสําราญอยู่ของพรหม อัปปมัญญามี ๔ คือ
ก) เมตตา การแผ่ความรักใคร่ ความปรารถนาดี ต่อสัตว์ทั้งหลาย ให้มีความสบายความสุขโดยทั่วกัน ไม่เลือกชาติ ชั้น วรรณะ
ข) กรุณา การแผ่ความสงสาร ต่อสัตว์ทั้งหลายที่กําลังได้รับความทุกข์อยู่ หรือที่จะได้รับความทุกข์ต่อไปในภายหน้า โดยไม่เลือกชาติ ชั้น วรรณะ ค) มุทิตา การแผ่ความชื่นชมยินดี ต่อสัตว์ทั้งหลายที่กําลังได้รับความสุขอยู่ หรือที่จะได้รับความสุขต่อไปในภายหน้า โดยไม่เลือกชาติ ชั้น วรรณะ ง) อุเบกขา การวางเฉยต่อสัตว์ทั้งหลาย ด้วยอาการวางตนเป็นกลาง ไม่รักใคร่ไม่สงสารไม่ชื่นชมยินดี ไม่มีอคติแต่ประการใดๆ โดยไม่เลือกชาติชั้น วรรณะ
อัปปมัญญา ๓ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา นั้น สามารถเจริญให้ถึงได้ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป ตามลําดับจนถึงจตุตถฌาน ส่วนอุเบกขานั้น เจริญได้โดยเฉพาะเพื่อให้เกิดปัญจมฌานอย่าง เดียวเท่านั้น
อัปปมัญญา 4 (เป็น 1 ในกรรมฐาน 40 กอง)
คือ ธรรมที่พึงแผ่ไปในมนุษย์ สัตว์ทั้งหลาย อย่างมีจิตใจสม่ำเสมอทั่วกันไม่มีประมาณ ไม่จำกัดขอบเขต โดยมากเรียกกันว่า พรหมวิหาร 4 คือ
เมตตา คือ ปรารถนาดี มีไมตรีอยากให้มนุษย์ สัตว์ทั้งหลาย มีความสุขทั่วหน้า
กรุณา คือ อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์
มุทิตา คือ พลอยมีใจแช่มชื่นบาน เมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข และเจริญงอกงาม ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นไป
อุเบกขา คือ วางจิตเรียบสงบ สม่ำเสมอ เที่ยงตรงดุจตาชั่ง มองเห็นมนุษย์ สัตว์ทั้งหลาย ได้รับผลดีร้าย ตามเหตุปัจจัยที่ประกอบ ไม่เอนเอียงไปด้วยชอบหรือชัง
ฆราวาสธรรม 4
“..ผู้ฝึกตนให้อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้อื่นได้ นับเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่มนุษย์…”
พระพุทธภาษิต
ฆราวาสธรรม ประกอบด้วย 2 คำ "ฆราวาส" แปลว่า ผู้ดำเนินชีวิตในทางโลก, ผู้ครองเรือน และ "ธรรม" แปลว่า ความถูกต้อง, ความดีงาม, นิสัยที่ดีงาม, คุณสมบัติ, ข้อปฏิบัติ
ฆราวาสธรรม แปลว่า คุณสมบัติของผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตทางโลก ประกอบด้วยธรรมะ 4 ประการ คือ
- สัจจะ แปลว่า จริง ตรง แท้ มีความซื่อสัตย์เป็นพื้นฐาน เป็นคนจริงต่อความเป็นมนุษย์ของตน
- ทมะ แปลว่า ฝึกตน ข่มจิต และรักษาใจ บังคับตัวเองเพื่อลดและละกิเลส และรักษาสัจจะ
- ขันติ แปลว่า อดทน ไม่ใช่แพียงแต่อดทนกับคำพูดหรือการกระทำของผู้อื่นที่เราไม่พอใจ แต่หมายถึงการอดทนอดกลั้นต่อการบีบบังคับของกิเสส
- จาคะ แปลว่า เสียสละ บริจาคสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่ในตน โดยเฉพาะกิเลสเพราะนั้นคือสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่กับตน ละนิสัยไม่ดีต่างๆ
ความสำคัญของหลักธรรม 4 ประการ ที่มีต่อการสร้างตัวนี้ พระพุทธองค์ถึงกับท้าให้ไปถามผู้รู้ท่านอื่นๆ ว่า มีสิ่งใดในโลกนี้ที่สร้างเกียรติยศ และความเคารพจากผู้อื่น ให้คนเราได้เท่ากับการมี "สัจจะ" หรือไม่ มีสิ่งใดในโลกนี้ที่สร้างปัญญาให้คนเราได้เท่ากับการมี "ทมะ" หรือไม่ มีสิ่งใดในโลกนี้ที่สร้างทรัพย์สมบัติให้คนเราได้เท่ากับการมี "ขันติ" หรือไม่ มีสิ่งใดในโลกนี้ที่สร้างหมู่มิตรให้คนเราได้เท่ากับการมี "จาคะ" หรือไม่
การที่พระพุทธองค์ทรงท้าให้ไปถามผู้รู้อื่นๆ อย่างนี้ก็หมายความว่า ไม่มีธรรมะใดๆ ที่จะใช้สร้างตัวให้ประสบความสำเร็จได้ยิ่งกว่าการสร้างสัจจะ ทมะ ขันติ จาคะให้เกิดขึ้นในตนอีกแล้ว หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ คนที่จะยืนหยัดผ่านอุปสรรคต่างๆ ในโลกนี้ไปจนกระทั่งพบความสำเร็จได้นั้น เขาต้องสร้าง "ฆราวาสธรรม" ให้เป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐานประจำตนก่อนนั่นเอง เพราะฉะนั้น ความหมายที่แท้จริงของ ฆราวาสธรรม คือ คุณสมบัติของผู้ที่สามารถสร้างเกียรติยศ สร้างปัญญา สร้างทรัพย์สมบัติ และสร้างหมู่ญาติมิตรให้เกิดขึ้นได้สำเร็จด้วยกำลังความเพียรของตน…
ฆราวาสธรรม 4 คือ
1. สัจจะ คือ ความจริง, ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทำจริง
2. ทมะ คือ การฝึกฝน, การข่มใจ ฝึกนิสัย ปรับตัว, รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดดัดนิสัย แก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา
3. ขันติ คือ ความอดทน, ตั้งหน้าทำหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง ทนทาน ไม่หวั่นไหว มั่นในจุดหมาย ไม่ท้อถอย
4. จาคะ คือ ความเสียสละ, สละกิเลส สละความสุขสบายและผลประโยชน์ส่วนตนได้ ใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟังความทุกข์ ความคิดเห็น และความต้องการของผู้อื่น พร้อมที่จะร่วมมือ ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่คับแคบเห็นแก่ตนหรือเอาแต่ใจตัว
ธรรม ๔ ประการนี้นับว่าเป็นหลักสำคัญในการครองเรือน เริ่มด้วย
ประการที่ ๑ สัจจะ ความจริง ธรรมข้อนี้ท่านยกเป็นอันดับที่ ๑ เพราะมีความสำคัญมาก ถือว่าเป็นเหมือนฐานทีเดียว ฐานรากของอาคาร หรือรากของต้นไม้เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้อาคารเป็นต้น หรือสิ่งทั้งหลายที่ตั้งอาศัย ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง ถ้าฐานไม่แน่น ไม่ดี ไม่มั่นคงเสียแล้ว ทุกอย่างก็หวั่นไหว คลอนแคลน ไม่มีความแน่ใจ ไม่มั่นใจ สัจจะก็เป็นฐานรองรับชีวิตที่อยู่ร่วมกัน
บุคคลที่มาอยู่ร่วมกันจะต้องมีสัจจะคือ ความจริง เริ่มด้วยจริงใจ เช่น มีความรักจริง มีเมตตาด้วยใจจริง โดยบริสุทธิ์ใจ ขั้นแรกต้องมีความจริงอันนี้ คือจริงใจ มีความซื่อสัตย์ต่อกัน ถ้าขาดความจริงใจ หรือขาดความซื่อสัตย์เมื่อไร ก็จะเริ่มระแวง เริ่มหวั่นไหว เริ่มแกว่งไกวทันที จึงจะต้องรักษาสัจจะตัวนี้ไว้ก่อน
ต่อจากจริงใจก็จริงวาจา เมื่อจริงใจแล้ว เวลาพูดจาอะไรต่างๆ ก็พูดจริงต่อกัน ไม่หลอกลวงกัน และจริงในการกระทำ คือทำจริงตามที่พูดบอกหรือให้สัญญาไว้ ถ้าบอกไว้ว่าจะทำอย่างไรแล้ว ไม่ทำตามสัญญา ไม่ทำตามที่พูด ก็เกิดปัญหาอีก จึงต้องจริงให้ครบ ทั้งจริงใจ จริงวาจา และจริงการกระทำ ครบทั้ง ๓ อย่างที่ว่า จริงในการกระทำนั้น นอกจากทำจริงตามที่พูด แล้วก็ทำอย่างจริงๆ จังๆ เช่นในการทำงาน ก็มีความขยันหมั่นเพียรในกิจในหน้าที่ของตน แต่รวมแล้วก็คือต้องจริง นี้คือสัจจะข้อที่ ๑ ซึ่งสำคัญมาก เมื่อมีรากฐาน คือความจริง ความซื่อสัตย์์ แล้วก็ก้าวต่อไป ให้ข้อที่ ๒ ตามมาด้วย
ประการที่ ๒ ทมะ แปลตามศัพท์ว่า การฝึก การฝึกตามปกติมี ๒ ขั้น ท่านนำศัพท์นี้มาใช้ในการฝึกไม่ว่าคนหรือสัตว์ เช่นเมื่อเรานำเอาสัตว์มาจากป่า จะมีการฝึก ๒ ขั้น
ขั้นที่ ๑ คือ การปราบพยศ หรือทำให้เชื่อง ศัพท์โบราณท่านใช้คำว่า ข่ม หรือ ทรมาน
ทรมานนี้เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย ความหมายเพี้ยนไป ทรมานกลายเป็นการทำให้เจ็บปวด แต่ในภาษาพระทรมานแปลว่า ฝึก เช่น พระโมคคัลลานะไปทรมานเศรษฐีท่านหนึ่ง เราอ่านก็สงสัยว่า พระทำไมไปทรมานคน แต่เปล่า ในภาษาโบราณของพระ ทรมานมาจากคำว่าทมะ แปลว่าฝึก คือแก้นิสัยเสีย เช่น ความตระหนี่เหนียวแน่น ความโกรธ แก้ไขให้ดีขึ้นหรือให้หาย เรียกว่าทมะหรือทรมาน เพราะฉะนั้นถ้าไปอ่านหนังสือเก่าๆ พบคำว่าทรมานก็อย่าเข้าใจผิด นี้คือตอนแรกปราบพยศ แก้ความผิดพลาดต่างๆ
พอแก้พยศได้เชื่องดีแล้ว ก็ฝึกขั้นที่ ๒ คือปรับปรุงพัฒนา ตอนนี้จะเอาไปใช้งานอะไรก็ฝึกไปตามนั้น เช่น จะให้ช้างลากซุง หรือจะให้ม้าวิ่งแข่ง หรืออะไรก็ตามแล้วแต่เราจะฝึก รวมความว่าฝึกปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น จนกระทั่งมีความสามารถที่จะทำอะไรต่ออะไรได้ตามที่เราต้องการ
คนเราก็เหมือนกัน เราต้องยอมรับว่า เราต้องฝึกตัวอยู่เสมอ เพราะว่าคนเรานี้เกิดมา แน่นอนว่ายังเป็นคนไม่สมบูรณ์ เราทุกคนจึงต้องฝึกตนเอง การฝึกก็มี ๒ ตอน ตอนที่ ๑ คือ ข่มไว้ ปราม แก้ส่วนที่ไม่ดี แล้วต่อจากนั้นก็ คือ ปรับปรุง พัฒนา ทำให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกรณีของชีวิตที่อยู่ร่วมกัน จะมีส่วนสำคัญที่แยกง่ายๆ คือขั้นแรกเป็นการปรับตัว แล้วขั้นที่ ๒ ก็ปรับปรุงให้พัฒนายิ่งขึ้น
การปรับตัวนี้เข้ากับลักษณะขั้นที่ ๑ ของการฝึก เรายังไม่พร้อม ยังไม่เหมาะกับสภาพใหม่ๆ ที่จะไปอยู่ หรือจะไปทำงาน เรายังไม่คุ้น เรายังไม่รู้จัก ท่าทีลักษณะอาการของเรายังขัดเขินอยู่ เราจึงต้องเรียนรู้ แล้วเราก็ปรับตัวเข้ากับสถานที่ใหม่ ปรับตัวเข้ากับที่ทำงานใหม่ ปรับตัวเข้ากับคนที่พบใหม่ อย่างคู่สมรสนี้เรื่องการปรับตัวสำคัญมาก ท่านว่าต้องปรับตัวปรับใจให้เข้ากัน เพราะเป็นธรรมดาว่าคนเราไม่มีใครเหมือนกันสักคน แม้แต่พี่น้องฝาแฝดก็ยังมีข้อแตกต่าง ยิ่งอยู่คนละครอบครัว อยู่คนละถิ่นฐาน มีพื้นฐานพื้นเพทางด้านความรู้ความเข้าใจ ความนึกคิด การอบรมทางครอบครัว ทางวัฒนธรรมต่างๆ หรือถิ่นต่างๆ ไม่เหมือนกัน ความแตกต่างนี้ย่อมมีอยู่เป็นธรรมดา ซึ่งจะต้องรู้จักจัด
ความต่างนั้นทำให้เกิดผลได้ ๒ แบบ คือต่างทำให้แตกก็ได้ ต่างทำให้เต็มก็ได้ ถ้าจัดไม่เป็น หรือไม่จัด ความต่างก็ทำให้แตก คือ เพราะต่างกันก็เลยไปด้วยกันไม่ได้ ก็แตกกัน เป็นการแตกแยก แต่ถ้าจัดเป็น ก็กลายเป็นมาเติมให้เต็ม ดังเช่นร่างกายของเรานี้มีอวัยวะมากมาย ทำงานกันต่างๆ รูปร่างก็ไม่เหมือนกัน หน้าที่ก็ไม่เหมือนกัน จึงรวมกันเป็นร่างกายที่สมบูรณ์ แต่ถ้าขืนมีอวัยวะอย่างเดียวกัน ก็ทำงานไปไม่ได้ เป็นชีวิตไม่ได้ ร่างกายไม่สมบูรณ์ การที่ร่างกายของเราสมบูรณ์ ชีวิตเราสมบูรณ์ ก็เพราะว่า เรามีอวัยวะต่างๆ ที่ต่างกัน เมื่ออวัยวะที่ต่างกันนั้นทำหน้าที่ของมัน มารวมกันเข้าก็กลายเป็นความเต็ม เพราะฉะนั้น ความต่างจึงมีความสำคัญมาก
คนเราเมื่อต่างกันมาก็ใช้หลักธรรมข้อนี้คือ ทมะ มาเป็นหลักในการปรับตัว ยกตัวอย่างง่ายๆ คนสองคนมาอยู่ด้วยกัน คนหนึ่งชอบเก็บตัว ไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับใคร อีกคนหนึ่งชอบออกสังคม ไม่ชอบอยู่นิ่งเลย ไปไหนๆ เรื่อยตลอดเวลา นี่ก็ต่างกันแล้ว ทีนี้ถ้าไม่รู้จักปรับไม่รู้จักจัด เมื่อมาอยู่ด้วยกันต่างฝ่ายต่างก็จะเอาอย่างของตัวเอง ก็เรียกร้องจากอีกฝ่ายหนึ่ง ว่าจะต้องเอาตามฉัน ไม่ยอมซึ่งกันและกัน อย่างนี้ต่างก็ทำให้แตก แต่ถ้ารู้จักจัดก็จะพบว่า ความจริงการเก็บตัวก็ดีอยู่บ้างในบางกรณี แต่มันก็มีข้อเสียทำให้ขาดประโยชน์บางอย่างที่พึงได้ และในทำนองเดียวกันการออกข้างนอกตลอดเวลาก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย เราก็มาจัดมาปรับ ๒ ฝ่าย
ฝ่ายหนึ่งเก็บตัวมากไป อีกฝ่ายหนึ่งออกสังคมมากไป ก็มาจัดมาปรับตกลงกันให้พอดี ท่านว่าให้ใช้วิธีแห่งปัญญา ทมะนี่สำคัญมาก ต้องใช้ปัญญา คือมาพูดมาจามาช่วยกันพิจารณาปรับตัว ตกลงกันก็กลายเป็นดีไปเลย ๒ ฝ่ายก็มาเติมเต็มกัน ฝ่ายหนึ่งก็ขาดในการคบหาเกี่ยวข้องกับผู้คน อีกฝ่ายหนึ่งก็ขาดในแง่ของการทำในสิ่งที่ควรทำเฉพาะตัว เมื่อมาปรับให้พอดีอย่างนี้เรียกว่าต่างทำให้เต็ม หรือว่าฝ่ายหนึ่งเงียบไม่ยอมพูดยอมจา อีกฝ่ายหนึ่งก็พูดมากเหลือเกิน พูดจ้อ อย่างนี้ก็เหมือนกัน บางทีจัดให้ดีแล้วก็กลายเป็นว่าเกิดความพอดี เรียกว่าต่างที่ทำให้เต็ม คือต่างที่มาเติมซึ่งกันและกันให้เต็ม
เรื่องของชีวิตคู่ที่อยู่ด้วยกันนี้ ทมะสำคัญมาก อย่างน้อยเริ่มต้นก็ต้องปรับตัวปรับใจเข้าหากัน ไม่ถือสาในเรื่องข้อแตกต่าง ถ้าเห็นผิดหูผิดตาแปลกไปก็ไม่วู่วามไม่ตามอารมณ์ ค่อยๆ อดใจไว้ก่อน เรียกว่าข่มใจไว้ก่อนแล้วก็ค่อยๆ พูด ค่อยๆ จา ค่อยๆ ใช้ปัญญาคิดแก้ อะไรต่ออะไรก็ลงตัว
การที่คนมาอยู่ร่วมกันนี้ ท่านถือว่าเป็นการที่ทำให้เราได้ฝึกตัวเองด้วย ถ้าเราฝึกตัวเองได้สำเร็จในการมีชีวิตคู่ เราก็จะมีความอิ่มใจ ภูมิใจว่า เราประสบความสำเร็จในการฝึกตัว ซึ่งเป็นชีวิตส่วนหนึ่งที่สำคัญ เพราะฉะนั้นจึงควรสำรวจตนเองว่าเรานี่สามารถไหม เรามีความสามารถในการปรับตัวเองเข้ากับสถานการณ์ หรือเข้ากับคนอื่นได้ ทมะก็จะมีประโยชน์มาก และถือว่าชีวิตแต่งงานเป็นโอกาสให้เราได้เรียนรู้ได้ฝึกตนไปด้วย
ต่อจากการปรับตัวขั้นที่ ๑ แล้วจากนั้นก็ปรับปรุงตน อะไรที่ยังบกพร่อง เราก็เรียนรู้ แล้วพยายามปรับปรุงตนหรือพัฒนาตนอยู่เรื่อย เราก็จะเจริญงอกงาม เรื่องของการปรับปรุงตน ในที่นี้จะไม่พูดถึง เพราะเป็นเรื่องกว้างขวางมาก แต่ขั้นที่ ๑ ต้องทำให้ได้ก่อนคือปรับตัว เมื่อถึงขั้นที่ ๒ ปรับปรุงตน เราพัฒนาต่อไป ก็จะทำให้เกิดความสุขความเจริญแน่นอน
ประการที่ ๓ ขันติ แปลว่าความอดทน ซึ่งเป็นความเข้มแข็ง เพราะตัวศัพท์เมื่อพูดสั้นๆ ก็คือทน อย่างเช่นไม้ ก็เรียกว่า ทนทาน อะไรต่ออะไรที่เราจะนำมาใช้ประโยชน์ เราก็ชอบของทนทาน ถ้าของไม่ทน อ่อนแอ เปราะ เราก็ไม่ชอบ เพราะใช้ไม่ได้ผลดี เราชอบของที่ทนทาน ก็คือเข้มแข็ง คนก็เหมือนกันก็ต้องดูว่า คนนั้นเป็นคนอดทนคือมีความทนทานหรือเปล่า หรือเป็นคนเปราะใจเสาะแตกง่าย
คนเราจะต้องมีความเข้มแข็งอยู่ในตัว ถ้าเป็นคนอ่อนแอก็โวยวายง่าย มีอะไรนิดอะไรหน่อย ก็โวยวาย วู่วามไปตามอารมณ์ ไม่มั่นคง แต่ถ้าเป็นคนเข้มแข็งก็อยู่กับเหตุกับผลได้ อะไรต่ออะไรที่ไม่ดีก็ขุดทิ้งไป อย่างน้อยเราก็ระงับเรื่องได้ สิ่งที่จะทำให้เกิดปัญหาถ้าเป็นเรื่องเล็กก็ไม่ขยายตัว ถ้าเป็นเรื่องใหญ่ก็กลายเป็นเรื่องเล็ก ถ้าเป็นเรื่องเล็กก็หายเลย แต่ถ้าเราไม่มีความอดทนเรื่องเล็กก็กลายเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องใหญ่ก็เสียหายใหญ่โตอาจถึงกับทำให้เกิดความย่อยยับไปก็ได้ เพราะฉะนั้นจึงบอกว่าต้องมีความอดทน
ในชีวิตของคนเราต้องใช้ขันติหลายอย่าง อย่างน้อยก็คือ
๑. ขันติ ความอดทนต่อความลำบากตรากตรำ เช่นการทำงาน คนเราต้องมีงานการทำเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อทำงานหาเลี้ยงชีพ ก็ต้องมีความอดทน ใจสู้ ไม่ย่อท้อง่ายๆ จะทำงานก็ทำไป บุกฝ่าไป ไม่ย่อท้อ ลำบากไม่กลัว อย่างนี้ก็เจริญแน่นอน
๒. อดทนต่อทุกขเวทนา ตัวอย่างง่ายๆ เช่น เมื่อเจ็บปวดเมื่อยล้าก็ต้องอดทน หรือในเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยก็ต้องอดทน ไม่ใช่เจ็บไข้นิดๆ หน่อยๆ ก็โวยวายทำให้อีกฝ่ายหนึ่งใจคอไม่ดีไปด้วย แต่ที่ว่าอดทนนั้นไม่ใช่ไม่รักษา ก็รักษาไป และต้องไม่ประมาทด้วย แต่ความอดทนนี้ทำให้รักษาสถานการณ์ได้ดี และบรรยากาศก็ดี
๓. ความอดทนที่สำคัญคือ อดทนต่อสิ่งกระทบกระทั่งใจ คนเราเมื่ออยู่ด้วยกันก็เป็นธรรมดาอย่างที่บอกข้างต้นว่าย่อมมีความแตกต่าง มีความแปลกหูแปลกตา หรือแม้จะไม่ต่าง แต่เมื่ออยู่กันนานๆ ก็ต้องมีความพลาดพลั้งบ้าง แม้ไม่ได้เจตนา เมื่อทำอะไรไปเผลอไผลก็อาจจะไปกระทบกระเทือนใจอีกฝ่ายหนึ่งได้ ทีนี้ถ้าเราไม่สะกดใจ ไม่มีขันติความอดทน ก็ยุ่งเลย พออะไรมาไม่ถูกใจปั๊บก็เกิดเรื่องทันที ถ้าอย่างนี้ ปัญหาก็ต้องตามมาแน่ๆ แต่ถ้าเราอดทนไว้ ก็ค่อยๆใช้วิธีเอาธรรมะข้อ ๒ มาช่วยในการจัดปรับ แล้วแก้ไขปัญหา ก็หมดเรื่องไป
ความกระทบใจนี้เป็นเรื่องใหญ่ บางทีใช้มากกว่าข้ออดทนต่อความลำบากตรากตรำ และอดทนต่อทุกขเวทนา เพราะว่าความอดทนต่อความลำบากตรากตรำและต่อทุกขเวทนานั้น โดยมากจะทำเป็นนิสัยไปเลย แต่อดทนต่อความกระทบกระทั่งใจนี้มีโอกาสเกิดได้เรื่อยๆ ฉะนั้น เราจึงควรมองในแง่ที่ว่าเป็นการฝึกตนเอง เริ่มตั้งแต่ดูว่าเรามีความเข้มแข็งพอไหม เขาทำมาอย่างนี้ เขาอาจจะไม่ได้เจตนา แล้วเรามีความเข้มแข็งพอที่จะรับได้ทนได้ไหม เมื่อมองอย่างนี้ ก็เป็นการทดสอบตนเองด้วย อย่าไปมองแต่เขา ถ้าเรามองตัวเอง เอาเป็นเครื่องทดสอบแล้ว เมื่อเห็นว่าเราแข็งพอ ก็กลับมีความอิ่มใจ และภูมิใจที่ว่าเรานี้เข้มแข็งพอ สู้ได้ เป็นการฝึกตนไปด้วย พร้อมกันนั้นปัญหาอะไรต่ออะไรก็แก้ไขไปด้วยวิธีของปัญญาด้วยเหตุด้วยผล และด้วยเจตนาดีปรารถนาดีต่อกัน
ขันติเป็นธรรมสำคัญมาก เพราะว่าเมื่อเราอยู่ด้วยกันเราก็จะต้องร่วมกันในการทำการทำงาน ในการสร้างสรรค์ชีวิตเป็นต้น ชีวิตของเราจะเจริญก้าวหน้าได้เราจะต้องมีความเข้มแข็งมีความทนทานอย่างที่ว่านี้ เมื่อมีความเข้มแข็งทนทานอย่างนี้ พลังของคนที่มาอยู่ร่วมกันก็จะกลายเป็นพลังบวกรวมเป็นสอง แต่ถ้าสองคนไม่มาเสริมกัน ก็กลายเป็นมาขัดมาแย้งกัน พอมาขัดมาแย้งกันหนึ่งกับหนึ่งก็ลบกันกลายเป็นศูนย์ กลายเป็นว่าแทนที่จะเท่าเดิม เดิมมีหนึ่งพอมาเจออีกหนึ่งกลายเป็นศูนย์ไปเลย แต่ถ้ามีความเข้มแข็งและมาอยู่ด้วยกันแล้วมาเสริมกัน ก็กลายเป็นหนึ่งบวกหนึ่งรวมเป็นสองเท่ากับได้พลัง
การแต่งงานนี้ถือว่าทำให้เราได้พลังเพิ่ม ไม่เฉพาะพลังเพิ่มของคู่บ่าวสาวเท่านั้น แต่ได้เพิ่มมามาก เริ่มตั้งแต่ได้เพิ่มญาติมากมาย คุณพ่อคุณแม่ก็เพิ่มสองเท่า คุณลุง คุณป้า คุณน้า คุณอา พี่น้อง เพื่อนก็เพิ่ม ฉะนั้นคนแต่งงาน จึงเป็นคนมีโชคดี จะต้องรักษาโชคนี้ไว้ให้ได้ คือ เมื่อได้กำลังเพิ่มแล้วก็รู้จักใช้กำลังเพิ่มให้เป็นประโยชน์
เป็นอันว่าขันตินี้มีความหมายมาก แต่รวมแล้วก็คือพลังความเข้มแข็ง ที่จะพาชีวิตของเราให้เดินหน้าไป และให้กำลังของเรามาเสริมซึ่งกันและกัน
ประการที่ ๔ จาคะ นี่ก็เป็นเรื่องใหญ่เหมือนกัน จาคะนั้นแปลง่ายๆ ว่าความสละ คนเรานี่จะเอาอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีการสละให้บ้าง โดยเฉพาะเมื่อคนมาอยู่ร่วมกัน การสละที่สำคัญก็คือสามารถสละความสุขของตนได้ คือไม่เอาแต่ใจ อยากจะได้แต่ความสุขของตนเอง ต้องนึกถึงความสุขของอีกฝ่ายหนึ่ง และสามารถสละความสุขของตัวเองเพื่ออีกฝ่ายหนึ่งได้ ถ้าใครทำได้อย่างนี้ก็ประเสริฐ คือแทนที่จะนึกว่าฉันจะเรียกร้องเอาความสุข ก็กลับไปนึกถึงอีกฝ่ายหนึ่ง ว่าเราทำอย่างไรจะให้เขาเป็นสุข ถ้าคิดอย่างนี้ได้ก็เรียกว่ามีจาคะ เริ่มต้นจากใจก็ตั้งไว้ถูกต้อง ว่าเราคิดแต่ว่าทำอย่างไรจะให้เขาเป็นสุข คิดอยู่แต่อย่างนี้
การที่ตั้งใจว่าทำอย่างไรจะให้เขาเป็นสุขนั้น ใจเราเองก็จะดีด้วยเพราะเป็นใจที่มีเมตตา พร้อมกันนั้นก็ทำให้อยู่ด้วยกันอย่างสามัคคีปรองดอง เพราะฉะนั้นจาคะจึงสำคัญมาก จาคะจะต้องเก่งถึงขนาดที่ว่าสามารถสละความสุขของตนเพื่ออีกฝ่ายหนึ่ง แม้กระทั่งคิดแต่เพียงว่าทำอย่างไรจะให้เขาเป็นสุข จนกระทั่งไม่คำนึงถึงความสุขของตัวเอง เมื่อสองฝ่ายคิดอย่างเดียวกันต่างฝ่ายต่างก็จะพยายามทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นสุข ก็เลยสุขด้วยกัน สบายไป แต่ถ้าต่างฝ่ายต่างเรียกร้องจะเอาอย่างใจตัวเอง ต่างก็เรียกร้องความสุขให้แก่ตัวเอง อย่างนี้ก็เกิดปัญหาแน่
ถ้ามีจาคะสละความสุขได้ก็เป็นคนมีน้ำใจ เพราะฉะนั้นจาคะจึงแปลว่าความมีน้ำใจ ความมีน้ำใจต่อกันนี้เริ่มต้นด้วยการยอมสละความสุขแก่กันได้ เช่นอีกฝ่ายหนึ่งเหนื่อยมาจากนอกบ้าน อีกฝ่ายหนึ่งอยากให้เขาเป็นสุข เขาเหนื่อยมาทำอย่างไรดี ก็ต้องต้อนรับจัดอะไรให้เขารับประทาน และพูดจาดีๆ ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งสบายใจ เมื่อคนหนึ่งเหนื่อยมาหรืออาจจะมีปัญหามาจากที่ทำงาน พอมาถึงบ้านพบการต้อนรับเอาใจใส่ก็เย็นใจสบาย คราวนี้ไม่อยากไปไหนแล้ว เพราะคิดว่าถ้ามีทุกข์มาเราก็กลับบ้าน เดี๋ยวเราก็หายทุกข์หายร้อน
จาคะนี่แสดงได้ตลอดเวลา แม้กระทั่งยามเจ็บไข้ได้ป่วย เมื่อฝ่ายหนึ่งเจ็บไข้ได้ป่วย อีกฝ่ายหนึ่งก็พยายามมาคอยเอาใจใส่ดูแลขวนขวายจัดอะไรให้ เฝ้าพยาบาลไม่เห็นแก่หลับแก่นอนเป็นต้น ทำให้เกิดความเห็นอกเห็นใจกัน ทำให้เกิดความประสานสามัคคี เพราะฉะนั้น จาคะจึงแปลว่ามีน้ำใจ เพราะเป็นเหมือนน้ำหล่อเลี้ยง มิฉะนั้นก็แห้งแล้ง ถ้ามีน้ำหล่อเลี้ยงแล้ว ชุ่มชื่นก็มีความสุข
นอกจากมีน้ำใจต่อกันโดยสละต่อกันระหว่างคู่ครองแล้ว ก็สละต่อผู้อื่นด้วย โดยมีน้ำใจต่อญาติมิตรทั้งสองฝ่าย ต่อคุณพ่อคุณแม่ของอีกฝ่ายหนึ่ง ต่อญาติมิตรพี่น้องทั้งหลาย ต่อเพื่อนฝูง มีน้ำใจไปหมด เมื่อทำอย่างนี้แหละจึงจะมาเสริมกำลังซึ่งกันและกัน แล้วชีวิตก็จะเจริญงอกงามมาก เพราะฉะนั้นจาคะก็จึงช่วยให้เรามีกำลัง เมื่อมีกำลังมากต่อไปเรามีทรัพย์สินเงินทองมาก มียศฐาบรรดาศักดิ์มาก คือมีทรัพย์ มีอำนาจมาก เราก็ยิ่งสามารถใช้จาคะไปบำเพ็ญประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์แก่สังคมกว้างขวางออกไป ที่ว่านี้ก็แล้วแต่กำลังความสามารถ แต่อย่างน้อยก็ให้มีน้ำใจต่อกันระหว่างคู่ครองและญาติมิตรใกล้เคียงโดยแสดงออกซึ่งจาคะคือความเสียสละมีน้ำใจนี้
นี่คือหลักธรรม ๔ ประการ ซึ่งมีความสำคัญในการครองเรือน ที่พระพุทธเจ้าตรัสประทานไว้ ถ้าทำได้ตามนี้ก็ย่อมเป็นธรรมมงคลแน่นอน คือเป็นมงคลที่เกิดจากธรรมะ เกิดจากการปฏิบัติสิ่งที่ดีงามถูกต้อง มงคลนั้นแปลว่าสิ่งที่นำมาซึ่งความสุขความเจริญ สิ่งอะไรจะนำมาซึ่งความสุขความเจริญก็ต้องธรรมะนี่แหละคือการทำอะไรก็ตามที่ถูกต้องดีงาม เพราะฉะนั้นรวมแล้วก็เป็น ๔ ข้อ โดยสรุปก็คือ
ประการที่ ๑ สัจจะ ความจริง ทั้งจริงใจ จริงวาจา และจริงการกระทำ มีความซื่อสัตย์
ประการที่ ๒ ทมะ การฝึกฝนปรับปรุงตน เริ่มแต่ปรับตัวเป็นต้นไป เป็นคนที่พัฒนาตนอยู่เสมอ ไม่หยุดนิ่ง
ประการที่ ๓ ขันติ มีความอดทน เข้มแข็งทนทาน ทั้งต่องานยากลำบากตรากตรำ ต่อทุกขเวทนาความเจ็บปวดเมื่อยล้า และต่อสิ่งกระทบกระทั่งใจ
ประการที่ ๔ จาคะ มีน้ำใจสามารถสละความสุขของตนเพื่ออีกฝ่ายหนึ่งได้ ตลอดจนเพื่อเพื่อนมนุษย์ทั้งหลายกว้างขวางออกไป
เราจะต้องทำชีวิตของเราให้ดีให้มีความสุข ถ้าตัวเรามีความสุข คุณพ่อคุณแม่ก็มีความสุขไปด้วย เป็นการตอบแทนพระคุณไปในตัวเลย เพราะฉะนั้นหลักธรรมนี้จึงมีความสำคัญ เป็นการพัฒนาชีวิตจากการที่คอยเรียกร้องความสุขให้แก่ตนเอง มาสู่ขั้นที่อยากจะให้คนอื่นเป็นสุขแล้วก็ขยายออกไป อยากให้คู่ครองเป็นสุข อยากให้ลูกเป็นสุข อยากให้เพื่อนมนุษย์เป็นสุข เมื่อทำได้อย่างนี้ชีวิตของตัวเราเองก็มีใจเป็นสุข และคนอื่นก็มีความสุขไปด้วย นี่ก็ครบชุดแล้ว
ฆราวาสธรรม ประกอบด้วย 2 คำ "ฆราวาส" แปลว่า ผู้ดำเนินชีวิตในทางโลก, ผู้ครองเรือน และ "ธรรม" แปลว่า ความถูกต้อง, ความดีงาม, นิสัยที่ดีงาม, คุณสมบัติ, ข้อปฏิบัติ
ฆราวาสธรรม แปลว่า คุณสมบัติของผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตทางโลก ประกอบด้วยธรรมะ 4 ประการ คือ
สัจจะ แปลว่า จริง ตรง แท้ มีความซื่อสัตย์เป็นพื้นฐาน เป็นคนจริงต่อความเป็นมนุษย์ของตน
ทมะ แปลว่า ฝึกตน ข่มจิต และรักษาใจ บังคับตัวเองเพื่อลดและละกิเลส และรักษาสัจจะ
ขันติ แปลว่า อดทน ไม่ใช่เราเพียงแต่อดทนกับคำพูดหรือการกระทำของผู้อื่นที่เราไม่พอใจ แต่หมายถึงการอดทนอดกลั้นต่อการบีบบังคับของกิเสส
จาคะ แปลว่า เสียสละ บริจาคสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่ในตน โดยเฉพาะกิเลสเพราะนั้นคือสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่กับตน ละนิสัยไม่ดีต่างๆ
ความสำคัญของหลักธรรม 4 ประการ ที่มีต่อการสร้างตัวนี้ พระพุทธองค์ถึงกับท้าให้ไปถามผู้รู้ท่านอื่นๆ ว่า มีสิ่งใดในโลกนี้ที่สร้างเกียรติยศ และความเคารพจากผู้อื่น ให้คนเราได้เท่ากับการมี "สัจจะ" หรือไม่ มีสิ่งใดในโลกนี้ที่สร้างปัญญาให้คนเราได้เท่ากับการมี "ทมะ" หรือไม่ มีสิ่งใดในโลกนี้ที่สร้างทรัพย์สมบัติให้คนเราได้เท่ากับการมี "ขันติ" หรือไม่ มีสิ่งใดในโลกนี้ที่สร้างหมู่มิตรให้คนเราได้เท่ากับการมี "จาคะ" หรือไม่
การที่พระพุทธองค์ทรงท้าให้ไปถามผู้รู้อื่นๆ อย่างนี้ก็หมายความว่า ไม่มีธรรมะใดๆ ที่จะใช้สร้างตัวให้ประสบความสำเร็จได้ยิ่งกว่าการสร้างสัจจะ ทมะ ขันติ จาคะให้เกิดขึ้นในตนอีกแล้ว หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ คนที่จะยืนหยัดผ่านอุปสรรคต่างๆ ในโลกนี้ไปจนกระทั่งพบความสำเร็จได้นั้น เขาต้องสร้าง "ฆราวาสธรรม" ให้เป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐานประจำตนก่อนนั่นเอง เพราะฉะนั้น ความหมายที่แท้จริงของ ฆราวาสธรรม คือ คุณสมบัติของผู้ที่สามารถสร้างเกียรติยศ สร้างปัญญา สร้างทรัพย์สมบัติ และสร้างหมู่ญาติมิตรให้เกิดขึ้นได้สำเร็จด้วยกำลังความเพียรของตน
อานิสงส์ของการมีสัจจะ - ปลูกนิสัยความรับผิดชอบให้เกิดขึ้นในตัว - เป็นคนหนักแน่นมั่นคง - มีความเจริญก้าวหน้าในการประกอบหน้าที่การงาน - ได้รับการเคารพยกย่อง - มีคนเชื่อถือ และยำเกรง - ครอบครัวมีความมั่นคง - ได้รับเกียรติยศชื่อเสียง
อานิสงส์ของการมีทมะ - ปลูกฝังนิสัยรักการฝึกฝนตนให้เกิดขึ้นในตัว - ทำให้เป็นคนมีความสามารถในการทำงาน - ไม่มีเวรกับใคร - ยับยั้งตนเองไม่ให้หลงไปทำผิดได้ - สามารถตั้งตัวได้ - มีปัญญาเป็นเลิศ
อานิสงส์ของการมีขันติ - ปลูกฝังนิสัยการอดทนต่ออุปสรรคและปัญหาต่างๆ - ทำงานได้ผลดี - สามารถเป็นหลักในครอบครัวได้ - สามารถเป็นหลักให้กับบริวารได้ - ไม่มีเรื่องวิวาทกับคนอื่น - ไม่หลงผิดไปทำความชั่วได้ - ทำให้ได้ทรัพย์มา
อานิสงส์ของการมีจาคะ - ปลูกฝังการมีอารมณ์ผ่องใสและนิสัยเสียสละให้เกิดขึ้นในตัว - เป็นการสร้างความปลอดภัยแก่ตนเอง - เป็นที่นับหน้าถือตาของคนทั่วไป - ครอบครัวและสังคมเป็นสุข - มีกัลยาณมิตรรอบตัว สรุปแล้วคุณของการมีฆราวาสธรรมโดยรวม ก็คือ เมื่อมีสัจจะย่อมมีเกียรติยศชื่อเสียง เมื่อมีทมะย่อมได้รับปัญญา เมื่อมีขันติย่อมเกิดทรัพย์ในบ้าน และเมื่อมีจาคะย่อมเกิดมิตรที่ดีไว้เป็นสมัครพรรคพวกในสังคม
โทษของการขาดสัจจะ- ปลูกนิสัยขาดความรับผิดชอบให้เกิดขึ้นในตัว - เป็นคนเหลาะแหละ - พบแต่ความตกต่ำ - มีแต่คนดูถูก - ไม่มีคนเชื่อถือ - ไม่สามารถรองรับความเจริญต่างๆ ได้ - ไร้เกียรติยศชื่อเสียง
โทษของการขาดทมะ - ขาดนิสัยรักการฝึกฝนตนเอง - ทำให้ขาดความสามารถในการทำงาน - สามารถหลงผิดไปทำความชั่วได้ง่าย - จะเกิดการทะเลาะวิวาทได้ง่าย - จะจมอยู่กับอบายมุข - ครอบครัวเดือดร้อน - ไม่สามารถตั้งตัวได้ - เป็นคนโง่เขลา
โทษของการขาดขันติ - ไม่สามารถอดทนต่อปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ได้ - เป็นคนจับจด ทำงานคั่งค้าง - ไม่สามารถเป็นหลักให้ครอบครัวได้ - หลงผิดไปทำความชั่วได้ง่าย - ไม่ได้รับความไว้วางใจจากผู้อื่น - เต็มไปด้วยศัตรู - ขาดความเจริญก้าวหน้า - ทำให้เสื่อมจากทรัพย์
โทษของการขาดจาคะ - ปลูกฝังความตระหนี่ให้เกิดขึ้นในใจ - ได้รับคำครหาติเตียน - เป็นทุกข์ใจ - ไม่มีใครอยากเข้าใกล้ สรุปแล้วโทษของการขาดฆราวาสธรรมโดยรวมก็คือ เมื่อขาดสัจจะย่อมเกิดปัญหา ถูกหวาดระแวง เมื่อขาดทมะย่อมเกิดปัญหาความโง่เขลา เมื่อขาดขันติย่อมเกิดปัญหาความยากจน และเมื่อขาดจาคะย่อมเกิดปัญหาความเห็นแก่ตัวเกิดขึ้นในสังคม
“สิ่งที่เข้ามากระทบใจนี้ มนุษย์ได้เลือกตอบสนองด้วยความรู้สึกทั้ง 4 อย่าง คือ ฉันทาคติ หมายความว่า เราเลือกปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆ ด้วยความลำเอียง เช่น ลำเอียงเพราะรักหรือชอบสิ่งนั้น โทสาคติ หมายความว่า เราเกิดความลำเอียงเนื่องจากความหงุดหงิด ไม่ชอบใจ โมหาคติ หมายความว่า เราเกิดความลำเอียง เพราะเราไม่รู้ว่าจะปฏิบัติต่อสิ่งนั้นอย่างไร และภยาคติ หมายความว่า เราลำเอียงต่อสิ่งนั้นเพราะความกลัว หรือเกรงใจ ทั้งหมดนี้ในทางพุทธศาสนาเรียกว่า “อคติ 4””
ทิฏฐธัมมิกัตถะ 4
ทิฏฐธัมมิกัตถะ ซึ่งเป็นหลักธรรมในพุทธศาสนาที่บางคนเรียกว่า “หัวใจเศรษฐี”
1.อุฏฐานสัมปทา เลี้ยงชีพด้วยการหมั่นประกอบการงาน
2.อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษาโภคทรัพย์
3.กัลยาณมิตตตา คบคนดี ไม่คบคนชั่ว
4.สมชีวิตา อยู่อย่างพอเพียง รู้ทางเจริญทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์
ทาน 4
ทานแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1.อามิสทาน คือ การให้วัตถุสิ่งของต่างๆ เป็นทาน เช่น ข้าว น้ำ ผ้า ยานพาหนะ ที่อยู่อาศัย ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ประทีปโคมไฟ เป็นต้น
การให้อามิสทานนี้ แบ่งตามคุณภาพของสิ่งที่ทำทานได้เป็น 3 อย่าง ดังนี้
1.1 ทาสทาน ให้ของที่ด้อยกว่าตนเองใช้ ได้บุญน้อย
1.2 สหายทาน ให้ของที่เสมอกับที่ตนเองใช้ ได้บุญมากขึ้น
1.3 สามีทาน ให้ของที่ดีกว่าที่ตนเองใช้ ได้บุญมากที่สุด
2.อภัยทาน คือ การให้ขีวิตสัตว์เป็นทาน รวมทั้งการปล่อยวางความโกรธให้หมด ไปจากใจ เลิกพยาบาท ให้อภัยกัน
3.วิทยาทาน คือ การให้ความรู้เป็นทาน และให้คำแนะนำสั่งสอนที่ดี ที่มีประโยชน์ในการดำเนินชีวิต
4.ธรรมทาน คือ การให้ความรู้เรื่องธรรมเป็นทาน เช่น การแนะนำสั่งสอนให้เข้าใจเรื่องบุญ บาป ให้ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส ด้วยการทำสมาธิภาวนา ซึ่งจะเป็นทางมาแห่งความสะอาดบริสุทธิ์ กาย วาจา ใจ จนกระทั้งสิ้นอาสวกิเลสได้
บุคคลสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท
เป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด สามารถเข้าใจธรรมะได้อย่างรวดเร็วและลึกซึ้ง เมื่อได้รับการสอนหรือฟังธรรมก็สามารถรู้แจ้งได้ทันที เปรียบเสมือน บัวพ้นน้ำ ที่สามารถเจริญงอกงามได้อย่างรวดเร็ว.
เป็นผู้มีปัญญาระดับกลาง ไม่โง่แต่ก็ไม่ฉลาดเท่าอุคฆฏิตัญญู แม้จะมีความรู้ความสามารถเข้าใจในสิ่งต่างๆ ได้ แต่ต้องอาศัยศรัทธานำไปพิจารณาแล้วพิจารณาอีก เปรียบเสมือน บัวเสมอน้ำ.
เป็นผู้มีปัญญาน้อย แต่ถ้าได้อยู่ใกล้ชิดคนมีปัญญา หรือได้กัลยาณมิตรที่ดี ได้สิ่งที่ยึดถืออันถูกต้อง ก็จะค่อยๆ เจริญขึ้นได้ เปรียบเสมือน บัวใต้น้ำ ที่ต้องอาศัยสิ่งหนุนเสริมจึงจะสามารถเจริญงอกงามได้.
เป็นผู้มีปัญญาน้อยที่สุด มักถูกคนอื่นหลอกลวงต่างๆ นานา เห็นผิดเป็นถูก เห็นชั่วเป็นดี เปรียบเสมือน บัวใต้น้ำ ที่ไม่สามารถเจริญเติบโตจนเสมอน้ำได้ ตกอยู่ในอำนาจของกิเลสตัณหา.
การแบ่งประเภทของบุคคลตามระดับสติปัญญานี้ จะช่วยให้สามารถเลือกวิธีการสอนที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ.
ดอกบัว 4 เหล่า
เป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด สามารถเข้าใจธรรมะได้อย่างรวดเร็วและลึกซึ้ง เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อได้รับแสงอาทิตย์ก็จะเบ่งบานทันที.
เป็นผู้มีปัญญาระดับกลาง สามารถเข้าใจธรรมะได้ แต่ต้องใช้เวลาและการพิจารณาเพิ่มเติม เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ ซึ่งจะบานในวันถัดไป.
เป็นผู้มีปัญญาน้อย แต่ถ้าได้อยู่ใกล้ชิดคนมีปัญญาหรือกัลยาณมิตรที่ดี ก็จะค่อยๆ เจริญขึ้นได้ เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานในวันหนึ่ง.
เป็นผู้มีปัญญาน้อยที่สุด มักถูกหลอกลวงและไม่สามารถเข้าใจธรรมะได้ เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่ในโคลนตม ไม่สามารถเจริญเติบโตได้.
การแบ่งประเภทนี้ช่วยให้เข้าใจถึงความแตกต่างในระดับสติปัญญาและการเรียนรู้ของบุคคลในสังคม และสามารถเลือกวิธีการสอนที่เหมาะสมกับแต่ละประเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพ