อริยทรัพย์ 7 (ทรัพย์อันประเสริฐ, ทรัพย์คือคุณธรรมประจำใจอย่างประเสริฐ — noble treasures)
1. ศรัทธา (ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในหลักที่ถือและในการดีที่ทำ — confidence)
2. ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ประพฤติถูกต้องดีงาม — morality; good conduct; virtue)
3. หิริ (ความละอายใจต่อการทำความชั่ว — moral shame; conscience)
4. โอตตัปปะ (ความเกรงกลัวต่อความชั่ว — moral dread; fear-to-err)
5. พาหุสัจจะ (ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก — great learning)
6. จาคะ (ความเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ — liberality)
7. ปัญญา (ความรู้ความเข้าใจถ่องแท้ในเหตุผล ดีชั่ว ถูกผิด คุณโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ รู้คิด รู้พิจารณา และรู้ที่จะจัดทำ — wisdom)
อริยบุคคล 7 (บุคคลผู้ประเสริฐ — noble individuals) เรียงจากสูงลงมา
1. อุภโตภาควิมุต (ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน คือ ท่านที่ได้สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย และสิ้นอาสวะแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอาพระอรหันต์ผู้ได้เจโตวิมุตติขั้นอรูปสมบัติมาก่อนที่จะได้ปัญญาวิมุตติ — one liberated in both ways)
2. ปัญญาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา คือ ท่านที่มิได้สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย แต่สิ้นอาสวะแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอาพระอรหันต์ผู้ได้ปัญญาวิมุตติก็สำเร็จเลยทีเดียว — one liberated by understanding)
3. กายสักขี (ผู้เป็นพยานด้วยนามกาย หรือ ผู้ประจักษ์กับตัว คือ ท่านที่ได้สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย และอาสวะบางส่วนก็สิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอาพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วขึ้นไป จนถึงเป็นผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัต ที่มีสมาธินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ — the body-witness)
4. ทิฏฐิปปัตตะ (ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ คือ ท่านที่เข้าใจอริยสัจจธรรมถูกต้องแล้วและอาสวะบางส่วนก็สิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอาพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วขึ้นไป จนถึงเป็นผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัต ที่มีปัญญินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ — one attained to right view)
5. สัทธาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา คือ ท่านทีเข้าในอริยสัจจธรรมถูกต้องแล้วและอาสวะบางส่วนก็สิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา แต่มีศรัทธาเป็นตัวนำหน้า หมายเอาพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วขึ้นไป จนถึงเป็นผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ — one liberated by faith)
6. ธัมมานุสารี (ผู้แล่นไปตามธรรม หรือผู้แล่นตามไปด้วยธรรม คือ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล ที่มีปัญญินทรีย์แก่กล้า อบรมอริยมรรคโดยมีปัญญาเป็นตัวนำ ท่านผู้นี้ถ้าบรรลุผลแล้วกลายเป็นทิฏฐิปัตตะ — the truth-devotee)
7. สัทธานุสารี (ผู้แล่นไปตามศรัทธา หรือผู้แล่นตามไปด้วยศรัทธา คือ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผลที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้า อบรมอริยมรรคโดยมีศรัทธาเป็นตัวนำ ท่านผู้นี้ถ้าบรรลุผลแล้วกลายเป็นสัทธาวิมุต — the faith devotee)
อุบาสกธรรม 7 (ธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญของอุบาสก — qualities conducive to the progress of a lay disciple)
1. ไม่ขาดการเยี่ยมเยือนพบปะพระภิกษุ (not to fail to see the monks)
2. ไม่ละเลยการฟังธรรม (not to neglect to hear the Teaching)
3. ศึกษาในอธิศีล (to train oneself in higher virtue)
4. มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุทั้งหลาย ทั้งที่เป็นเถระ นวกะ และปูนกลาง (to be full of confidence in the monks, whether elder, newly ordained or mid-term)
5. ไม่ฟังธรรมด้วยตั้งใจจะคอยเพ่งโทษติเตียน (to listen to the Dhamma not in order to criticize)
6. ไม่แสวงหาทักขิไณย์ภายนอกหลักคำสอนนี้ (not to seek for the gift-worthy outside of the Buddha’s teaching)
7. กระทำความสนับสนุนในพระศาสนานี้เป็นเบื้องต้น คือ ขวนขวายในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา (to do his first service in a Buddhist cause)
ธรรม 7 นี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สัมปทาของอุบาสก (สมบัติของอุบาสก -- accomplishments of a lay disciple.)
โพชฌงค์ หรือ โพชฌงค์ 7 คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ
สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง
ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม
วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) ความเพียร
ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มใจ
ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ
สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์
อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง
สติกำหนดรู้ในรูปนามจึงเกิดการจำแนกธรรมเกิดธัมมวิจยะว่าสิ่งนี้เป็นกุศลเป็นอกุศล ว่ากุศลควรเจริญอกุศลควรละเว้น จึงเกิดวิริยะความเพียรในการสร้างและรักษากุศล เพียรในการทำลายอกุศลและป้องกันอกุศลไม่ให้เกิดขึ้น ทำให้เกิดปีติอิ่มใจปลื้มใจในการทำดีละเว้นความชั่ว เพราะมีปีติ จึงทำให้ปฏิฆะความไม่พอใจอันเกิดจากความทุกข์กายทุกข์ใจเบาบางลง เมื่อความทุกข์เบาบางจิตจึงไม่ทุรนทุราย จึงเกิดปัสสัทธิความสงบกายสงบใจขึ้น เมื่อจิตใจสงบ วิตกวิจารการตรึกการตรองหรือการนึกคิดจึงสงบระงับลง เมื่อความนึกคิดสงบระงับลงนิวรณ์ที่ต้องอาศัยความนึกคิดจึงจะเกิดขึ้นมาได้ ก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อนิวรณ์ไม่เกิดขึ้น สมาธิจึงเกิดขึ้น เมื่อสมาธิเกิดขึ้น จิตจึงละวางในความชอบใจและความไม่ชอบใจ ในอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากผัสสะในอายตนะทั้ง6ลงเสียได้ จึงเกิดอุเบกขาความวางเฉย เมื่ออุเบกขาเกิดขึ้นจึงวางเฉยต่อบัญญัติทั้งปวง ว่าสิ่งนี้ดีกว่ากัน เลวกว่ากันหรือเสมอกัน ลงเสียได้
โพชฌงค์ 7 เป็นหลักธรรมส่วนหนึ่งของ โพธิปักขิยธรรม 37 (ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค อันได้แก่ สติปัฏฐาน4 สัมมัปปธาน4 อิทธิบาท4 อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7 และมรรคมีองค์ 8) ทั้งนี้ พระสูตรและปาฐะที่เกี่ยวข้องกับโพชฌงค์ 7 โดยตรง ได้แก่ มหากัสสปโพชฌังคสุตตปาฐะ, มหาโมคคัลลานโพชฌังคสุตตปาฐะ, มหาจุนทโพชฌังคสุตตปาฐะ
สัปปุริสธรรม 7 หรือ ธรรมของสัตบุรุษ 7 ประการ
เป็นหลักธรรมที่ช่วยให้บุคคลพัฒนาตนเองและเป็นคนดีในสังคม โดยสามารถสรุปได้ดังนี้:
การรู้จักและเข้าใจธรรมะอย่างลึกซึ้ง โดยการศึกษาและปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความศรัทธาและกำลังใจในการทำความดี.
การเข้าใจผลของการกระทำและนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เกิดผลดีจริงๆ ในการดำเนินชีวิต.
การประเมินตนเองโดยอาศัยคุณธรรมต่างๆ เช่น ศรัทธา ศีล และปัญญา เพื่อให้รู้ถึงความก้าวหน้าและปรับปรุงตนเองได้.
การรู้จักควบคุมการใช้ชีวิตและปัจจัย 4 ให้เหมาะสม ไม่ฟุ้งเฟ้อ และไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณธรรม.
การบริหารเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยจัดสรรเวลาให้เหมาะสมกับการเรียนรู้และการปฏิบัติธรรม.
การรู้จักและเข้าใจธรรมเนียมปฏิบัติของกลุ่มบุคคลในสังคม เพื่อที่จะสามารถทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรที่ดีได้.
การรู้จักและเข้าใจบุคคลในสังคม เพื่อให้สามารถแนะนำธรรมะให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้.
การนำสัปปุริสธรรม 7 ประการไปปฏิบัติจะช่วยให้บุคคลสามารถพัฒนาตนเองเป็นคนดี มีคุณธรรม และเป็นที่พึ่งพาของผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ.
"สัปปุริสธรรม 7" หรือ ธรรมของสัตบุรุษ 7 ประการ ดังนี้:
ธัมมัญญุตา: รู้หลักหรือรู้จักเหตุ
เข้าใจหลักการและเหตุผลของสิ่งต่างๆ
อัตถัญญุตา: รู้ความมุ่งหมายหรือรู้จักผล
เข้าใจจุดมุ่งหมายและผลลัพธ์ของการกระทำ
อัตตัญญุตา: รู้จักตน
เข้าใจตนเอง รู้ฐานะ ความสามารถ และคุณสมบัติของตน
มัตตัญญุตา: รู้จักประมาณ
รู้จักความพอดีในการดำเนินชีวิต
กาลัญญุตา: รู้จักกาล
รู้จักเวลาที่เหมาะสม และรู้จักใช้เวลาให้เป็นประโยชน์
ปริสัญญุตา: รู้จักชุมชน
เข้าใจสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มคนต่างๆ
ปุคคลัญญุตา: รู้จักบุคคล
เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล และรู้จักปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างเหมาะสม
สัปปุริสธรรมทั้ง 7 ประการ
1.ธัมมัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักธรรม หรือ ความเป็นผู้รู้จักเหตุ)
2.อัตถัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักอรรถ หรือความเป็นผู้รู้จักผล)
3.อัตตัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักตน)
4.มัตตัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักประมาณ)
5.กาลัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักกาล)
6.ปริสัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักบริษัทหรือชุมชน)
7.ปุคคลัญญุตา หรือปุคคลปโรปรัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักบุคคล)