จิตเป็นพรหม
มีความเมตตาเป็นคนดีไม่ตีใคร
มีความกรุณาช่วยเหลือไม่เบียดเบียนผู้อื่น
มีความมุทิตาร่วมยินดีไม่อิจฉาตาร้อน
มีความอุเบกขารู้จักวางเฉย ทำใจเป็นกลาง (ผลย่อมเกิดแต่เหตุ)
เมื่อรู้สึกเครียดหรือกำลังตัดสินใจ ให้สังเกตอารมณ์และความคิดของตัวเอง
ยอมรับและสังเกตอารมณ์เหล่านั้นโดยไม่ตัดสินหรือพยายามเปลี่ยนแปลง
การหายใจ: โฟกัสที่การหายใจอย่างมีสติ ให้ความสำคัญกับการหายใจเข้า-ออกอย่างช้า ๆ และรู้สึกการเปลี่ยนแปลงในร่างกายขณะที่หายใจ
การรับรู้สภาพจิต: รับรู้สภาพอารมณ์ ความรู้สึก และความคิดที่ผ่านไปในใจอย่างไม่วิจารณ์ โดยเน้นการตั้งใจที่จะไม่ลุกขึ้นตามความคิดเหล่านั้น
สติปัฏฐาน 4 (ที่ตั้งของสติ, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมันเอง - foundations of mindfulness)
1. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณากายให้รู้เห็นตามเป็นจริง ว่า เป็นเพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา - contemplation of the body; mindfulness as regards the body) ท่านจำแนกปฏิบัติไว้หลายอย่าง คือ อานาปานสติ กำหนดลมหายใจ 1 อิริยาบถ กำหนดรู้ทันอิริยาบถ 1 สัมปชัญญะ สร้างสัมปชัญญะในการกระทำความเคลื่อนไหวทุกอย่าง 1 ปฏิกูลมนสิการ พิจารณาส่วนประกอบอันไม่สะอาดทั้งหลายที่ประชุมเข้าเป็นร่างกายนี้ 1 ธาตุมนสิการ พิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็นธาตุแต่ละอย่างๆ 1 นวสีวถิกา พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ อันแปลกกันไปใน 9 ระยะเวลา ให้เห็นคติธรรมดาของร่างกาย ของผู้อื่นเช่นใด ของตนก็จักเป็นเช่นนั้น 1
2. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา - contemplation of feelings; mindfulness as regards feelings) คือ มีสติรู้ชัดเวทนาอันเป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆ ก็ดี ทั้งที่เป็นสามิส และเป็นนิรามิสตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ
3. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงจิต ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา - contemplation of mind; mindfulness as regards thoughts) คือ มีสติรู้ชัดจิตของตนที่มีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ เศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว ฟุ้งซ่านหรือเป็นสมาธิ ฯลฯ อย่างไรๆ ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ
4. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา - contemplation of mind-objects; mindfulness as regards ideas) คือ มีสติรู้ชัดธรรมทั้งหลาย ได้แก่ นิวรณ์ 5 ขันธ์ 5 อายตนะ 12 โพชฌงค์ 7 อริยสัจ 4 ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญบริบูรณ์ และดับไปได้อย่างไร เป็นต้น ตามที่เป็นจริงของมันอย่างนั้นๆ.
หลักการพัฒนาตนตามแนวพุทธศาสนาอันประกอบด้วยสาระสาคัญ 3 ประการ คือ
1) ทมะได้แก่ การรู้จักข่มใจ ข่มระงับความเคยชินที่ไม่ดีทั้งหลายได้ ไม่ยอมให้กิเลสรบเร้า หลอกล่อ ชักน าไปสู่ความ
เลวร้ายได้ และ การฝึ
กปรับปรุงตนเอง โดยท าคุณความดี ให้เจริญก้าวหน้า
2) สิกขา คือการศึกษา เพื่อให้รู้แจ้ง รู้จักประโยชน์ มองทุกอย่างเป็นการเรียนรู้เพื่อปรับปรุงและพัฒนาตัวเอง เป็นกระบวนการฝึกฝนตนเองในการ
ด าเนินชีวิต เรียกว่า ไตรสิกขา
3)ภาวนา คือ ค านี้ตรงกับค าว่าพัฒนา ซึ่งประกอบด้วย กายภาวนา ศีลภาวนา
และปัญญาภาวนา เทียบได้กับการพัฒนาทางกาย พัฒนาทางสังคม พัฒนาอารมณ์ และพัฒนาสติปัญญา
พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการพัฒนาตน เป็นศาสนาแห่งการฝึกอบรมตน
การพัฒนาตนตามแนวพุทธศาสนา เป็นการนำคำสอนทางพุทธศานา ไปประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาตน ให้บรรลุเป้าหมายตามที่ได้กำหนดไว้
คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับการพัฒามีอยู่ 3 คำ ได้แก่ สิกขา ภาวนา และทมะ
สิกขา หมายถึง การฝึกอบรม การศึกษา การรู้จักเลือกมาใช้ประโยชน์ เอามาฝึกฝนปรับปรุงตน แบ่งออกเป็น 3 ประการ เรียกว่า ไตรสิกขา ประกอบด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา เป็นการฝึกฝนให้มีศีลยิ่งๆขึ้นไป การฝึกฝนเรื่องจิตให้ยิ่งๆขึ้นไป และการฝึกฝนให้มีปัญญายิ่งๆขึ้นไป
ภาวนา หมายถึง การทำให้เกิด ทำให้มีขึ้น หรือการทำให้เจริญขึ้น ซึ่งตรงกับความหมายของคำว่า พัฒนา ได้แก่
กายภาวนา หรือ การพัฒนากาย เป็นการพัฒนาใน 2 ลักษณะ คือฝึกฝนในแง่ของการใช้งาน พัฒนาให้มีความเฉียบคม มีความว่องไว มีความคล่องและมีความชัดเจน กับฝึกฝนให้เลือกรับเอาสิ่งที่มีคุณค่าเป็นประโยชน์เข้ามาให้ชีวิต ป้องกันไม่ให้รับสิ่งที่ไม่ดีหรือเป็นโทษเข้ามา
ศีลภาวนา หรือ การพัฒนาศีล เป็นการพัฒนาให้บุคคลมีระเบียบในการดำเนินชีวิต สามารถ อยู่ร่วมกับคนอื่นได้ดี
จิตภาวนา หรือ การพัฒนาจิต อาจแบ่งได้เป็น 3 ด้าน คือ การพัฒนาคุณภาพของจิต เป็นการพัฒนาให้จิตมีคุณธรรมต่างๆ การพัฒนาสมรรถภาพจิต เป็นการพัฒนาความสามารถของจิตให้เข้มแข็งพอที่จะใช้งานได้ดี เป็นจิตที่มีสมาธิ มีสติ และมีความเพียรพยายาม กับ การพัฒนาสุขภาพจิต เป็นการพัฒนาให้จิตมีความสุข เบิกบาน มีความอิ่มใจ
ปัญญาภาวนา หรือการพัฒนาปัญญา คือการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ความคิดเหตุผล การหยั่งรู้ความจริง จนปลอดจากความทุกข์ ปราศจากปัญหา
ทมะ หมายถึง การฝึก หรือการฝึกอบรมตนเอง ให้เจริญก้าวหน้าในคุณความดีจนถึงที่สุด ซึ่งการฝึกตนเองสามารถทำได้เป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1.การบังคับควบคุมใจไว้ไม่ให้ยอมตามกิเลส ที่ดึงไปสู่ความชั่วร้าย ตลอดจนรูู้จักระงับความเคยชินที่ชั่วร้ายได้ ขั้นตอนที่ 2 การปรับปรุงตนเองให้มีคุณความดีให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป มีความเจริญงอกงาม
วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ
คือการรู้จักคิดพิจารณาใคร่ครวญถึงเรื่องราวสิ่งต่างๆอย่างรอบคอบและครอบคลุมลุ่มลึก มีสติสัมปชัญญะคิดไปตามสภาพความจริง ตามเหตุตามปัจจัย มีความสร้างสรรค์พัฒนาและนำไปสู่การแก้ปัญหาได้
อุปเบกขา การวางเฉยด้วยปัญญา (เชื่อกฎแห่งกกรรม เที่ยงธรรม ไม่เอนเอียง)