#อริยสัจ 4
1.ทุกข์ การยึดมั่นในขันธ์ 5 เป็นทุกข์ (อุปทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์)
2.สมุทัย ทุกข์เกิดจากการบีบบังคับของตัณหา 3 และอวิชา (จะพ้นทุกข์ได้ต้องดับตัณหา)
3.นิโรธคือนิพาน คือหลุดพ้นจากตัณหา ตัณหาดับ
4.มรรคมีองค์ 8 คือเส้นทางไปไปสู่นิพาน เส้นทางที่เดินออกห่างจากทุกข์
#อริยสัจข้อ 4 มรรคมีองค์ 8 (ฝึกและศึกษาด้วย ไตรสิกขา)
1.ปัญญา ตัดคองู 3 ตัว
เห็นถูก (รู้ตามอริยสัจ 4)(ปรโตโฆสะ(เหตุภายนอก)คบคนดีรับคำแนะนำที่ดี/โยนิโสมนสิการ(เหตุภายใน)คือการกระทำในใจโดยแยบคาย)
สำรวมใจ (มีความเห็นชอบ)
คิดถูก (คิดออกจากาม(ราคะ)/คิดไม่พยาบาท(โทสะ)/คิดไม่เบียดเบียน(โมหะ))
สำรวมใจ (ไม่อยากได้ของผู้อื่น(โลภ)/ไม่คิดร้าย)
2.ศีล (ศีล 5) เอางู 3 ตัวมาใส่กรง
สำรวมวาจา (โกหก/ส่อเสียด/หยาบ/เพ้อเจ้อ)(จริง/ประโยชน์/ถูกกาล/เมตตา)
สำรวมกาย(ไม่ฆ่า/ลักทรัพย์/ผิดในกาม)
อาชีพถูก (สัมมาอาชีวะ)
3.จิต (อินทรีย์) ความละเอียดของจิต กดคองู 3 ตัว
ความเพียร ความกล้า ขยัน (ก่อ รักษา กัน ละ (กุศลกรรม/อกุศลกรรม))
ระลึกชอบ (สติ) กาย/เวทนา/จิต/ธรรม (สติปัฐฐาน 4) สมาธิช่วงสั้นๆ สติรู้ขันธ์ 5 แล้วเกิดเป็นสัมปชัญญะ (สมาธิสั้นๆ ขณิกสมาธิ ระดับต่ำ)
ความตั้งมั่นชอบ (สมาธิ) ฌาน (ฌาน 4(อุปจารสมาธิระดับกลางและอุปจารสมาธิอัปนาสมาธิ สมาธิสูง สมาธิตั้งมั่น)) ใจหยุด นิวรณ์สงบ
#พรหมวิหาร 4
จิตพรหม เห็นทุกสรรพสิ่งทั้ง 3 แดนโลกธาตุเหมือนลูกของเรา (คนเล็กเรียงไปถึงคนโต เมตตา/กรุณา/มุตถิตา/อุเบกขา)
*กุศลกรรมบถ 10 (สำรวมกาย/วาจา/ใจ)
"ใจหมองไปอบาย ใจใสไปสุขติ"
สัมมาตรงข้ามกับมิจฉา
ฌาน = สมาธิ/ญาน = ปัญญา
ญาน/อภิญญา
ธรรมเป็นเข็มทิศบอกทางไปสู่ความหลุดพ้นจากกิเลศ (งู 3 ตัว โลภะ(ราคะ) โมหะ(หลง) โทสะ(โกรธ))
การปฎิบัติภาวนาคือทางเดินทางไปสู่ความหลุดพ้น (เดินทางไปตามเข็มทิศ)
ธรรมดาของรูปคือแตกหักได้ถ้าไปยึดก็เป็นทุกข์
ทุกข์จร/ทุกข์ประจำ
ฉันทะ(วิชา)ตรงข้ามกับตัณหา(อวิชา)
วิชา(ปล่อยขันธ์ 5)/อวิชา (อุปทานขันธ์ 5)
กิเลศคือเครื่องเศร้าหมองของจิต (อกุศลมูล = โลภะ/โทสะ/โมหะ กิเลศ 1,500 ตัว)
ตัณหาเป็นกิเลศตัวหนึ่งอยู่ในกลุ่มหนึ่งชื่อว่า ปปัญจธรรม (ตัณหามี 108 ตัวแบ่งเป็น 3 กลุ่ม/ทิฏฐิ/มานะถือเนื้อถือตัว)
กิเลศ 1,500 ตัณหา 108
ตัณหา 3 อยากได้/อยากคงไว้/อยากทำลาย
ถ้ามีปัญญา มันก็จะเห็นว่ามันไม่ดีทั้งนั้นแหละ ทุกอย่างมันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันก็จะไม่อยากได้
ความรักเสมอด้วยตนไม่มี (อยากได้(เกิด)/อยากคงอยู่(เสื่อม)/ไม่อยากได้(ดับ))
ไตรลักษ์ อนิจจัง/ทุกขัง/อนัตตา
"กิเลสกับตัณหาต่างกันอย่างไร"
ถาม : กราบนมัสการเจ้าค่ะพระอาจารย์ รบกวนสอบถามว่ากิเลสกับตัณหาต่างกันอย่างไรเจ้าคะ
พระอาจารย์ : ก็ต่างที่ชื่อไง แต่ที่ตัวมันตัวเดียวกันแหละ ความโลภก็คือความอยากไง ความอยากได้อยากมีอยากเป็น มันก็ความโลภเหมือนกัน ความโกรธก็ความอยากไม่มี อยากไม่เป็น อยากไม่ได้อย่างนั้น อยากไม่ได้อย่างนี้ ก็ทำให้โกรธ เวลาได้สิ่งที่ไม่อยากได้มันก็โกรธขึ้นมา มันตัวเดียวกันแหละ เพียงแต่ว่ากิเลสมันมีตัวหลงเข้ามาเสริมอีกตัวหนึ่ง ส่วนตัวตัณหานี้ ท่านไม่ได้พูดถึงตัวหลง ตัวหลงนี้คือตัวต้นเหตุของความอยากของความโลภ ต้องหลง หลงคิดว่าสิ่งนั้นดี สิ่งนี้ดี สิ่งนั้นดีก็อยากได้ อยากโลภขึ้นมา แต่ถ้ามีปัญญา มันก็จะเห็นว่ามันไม่ดีทั้งนั้นแหละ ทุกอย่างมันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันก็จะไม่อยากได้ สรุปแล้วก็ตัวเดียวกัน เพียงแต่ว่าเวลาแสดง เวลาพูดท่านก็แบ่งเป็นต่างลักษณะกันไป แต่บางทีท่านก็รวมตัวหลงเข้ามาด้วย บางทีท่านก็พูดแต่ตัวโลภตัวเดียวล้วนๆ แต่มันก็เกี่ยวดองกัน เป็นเหมือนพวงกุญแจ มันอยู่ด้วยกัน.
สนทนาธรรมบนเขา
วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๑
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ไตรสิกขาทำให้ชีวิตมีความสุข
กามตัณหา ความอยากในรสสัมผัสต่าง ๆ (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อารมณ์ ในคน สัตว์ สิ่งของ)
ภวตัณหา ความอยากเป็น ความอยากอยู่ในสภาวะใด ๆ (รักษาไว้ คงไว้)
วิภวตัณหา ความไม่อยากเป็น ความอยากพ้นไปจากสภาวะใด ๆ (เบื่อ ไม่อยากได้ อยากทิ้ง อยากทำลาย)
นึกอฐิษฐานถวายเครื่องบูชาพระรัตนตรัย "พุทธัสสะ ธัมมัสสะ สังฆัสสะ ปูเชมิ" อุทิศบุญให้แม่ค้าขายดอกไม้หรือรุกขเทวาที่ดูแลสระบัวที่เราขอนำไปถวายพระรัตนตรัย
1.สวดมนต์ไหว้พระภาวนา/แผ่บุญ อุทิศบุญ/ทำกรรมฐาน(ฝึกจิต)
2.พิจารณาจิต พิจารณาอารมณ์ (โยนิโสมนัสสิการ)
3.อยู่กับปัจจุบัน รักษาบุญบันทึกบุญด้วยการรักษาอารมณ์ให้ดี เปลี่ยนมาอยู่กับคลื่นที่ดี อยู่กับพระ อย่าไปทางโลกนาน
4.ถวายชีวิตบูชาพระรัตนตรัย/กราบพระ 6 ครั้ง (พระไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา)/อาราธนาพระ/ขอขมาพระ(โยโธโส)