"กมฺมุนา วตฺตตี โลโก"
"สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม" อธิบายว่า มนุษย์เรานี้มีการกระทำเกิดขึ้น อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าทำดี ทำชั่ว หรือ พอปานกลาง ด้วยกาย วาจา ใจ ทำกรรมด้วยกาย ท่านว่า "กายกรรม" ทำกรรมด้วยวาจา ท่านว่า "วจีกรรม" ทำกรรมด้วยใจ ท่านว่า "มโนกรรม"
ธรรมคือหลักเหตุผล ผู้ประมาทในธรรมคือคนเหล่านี้
-ไม่ทำเหตุดีแต่จะเอาผลดี (ไม่ทำแต่อยากได้ ขี้เกียจ)
-ทำเหตุเสียแต่จะเอาผลดี (ทำอย่างแต่หวังผลอีกอย่าง ทำผิดวิธี)
-ทำเหตุน้อยแต่จะเอาผลมาก (ทำน้อยแต่หวังมาก ทำๆหยุด ไม่พยายาม)
อย่าประมาทในธรรม
รักษาตน=รักษาผู้อื่น และ รักษาผู้อื่น=รักษาตน
รักษาตน: อยู่ในศีลในธรรมและอย่าประมาทในธรรม
รักษาผู้อื่น: ด้วยหลักพรหมวิหาร 4 (อดทน/ไม่เบียดเบียน/มีเมตตาจิต/รักใคร่เอ็นดู)
ทางธรรมปฏิบัตินั้นบุคคลจะเป็นผู้ "ไม่ประมาท" ได้อย่างสมบูรณ์ ผู้นั้นจะต้องมีสติกำกับตนเองอยู่ตลอดเวลา การที่บุคคลนั้นๆ จะมีสติกำกับตนเองอยู่ตลอดเวลา เขาจะต้องฝึกสัมมาสมาธิมาอย่างดีแล้วจนใจของเขาจรดหยุดนิ่งอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 และเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวตามลำดับจนเป็นพระอรหันต์ในที่สุด
1.ธรรมขั้นต้น (อนุปุพพิกถา 5)
2.ธรรมขั้นสูง (อริยสัจ 4)
พรหมจรรย์
กิ่งใบพรหมจรรย์
สะเก็ดพรหมจรรย์ (ความประมาทเพราะความถึงพร้อมแห่งศีล) เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
เปลือกของพรหมจรรย์ (ความประมาทเพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิ) ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
กระพี้แห่งพรหมจรรย์ (ความประมาทเพราะความถึงพร้อมแห่งญาณทัสสนะ) ยังญาณทัสสนะ
แก่นของพรหมจรรย์ ถึงซึ่งวิโมกข์ (ความหลุดพ้น) บรรลุโลกุตตรธรรม ๙ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑
บรรลุถึงพระนิพพาน พ้นจากสังสารวัฏได้
คำว่า กรรมฐาน นั้นหมายถึงการกำหนดจิตของเราให้จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อรวมพลังจิตไม่ให้ฟุ้ง เมื่อรวมพลังจิตอันนั้นไม่ให้ฟุ้งแล้ว รวมอยู่ในจุดใดจุดหนึ่ง รวมจนได้อารมณ์แห่งปีติ คือนิ่งเฉยแห่งจุดนั้น เมื่อนั้นให้ขึ้นวิปัสสนา วิปัสสนาคือให้พิจารณาในทุกสิ่งทุกอย่างว่าเป็นอนัตตา อนัตตาคือการเดินทางไปสู่โลกแห่งนิพพาน โลกแห่งอรหันต์ โลกแห่งโพธิสัตว์ โลกแห่งอนาคา อนาคามี โลกเรานี้เป็นโลกแห่งอัตตา ทำอย่างไรเราถึงจะไปสู่จุดแห่งการเป็นอนัตตาได้
1.ความไม่ประมาท
ทางธรรมปฏิบัตินั้นบุคคลจะเป็นผู้ "ไม่ประมาท" ได้อย่างสมบูรณ์ ผู้นั้นจะต้องมีสติกำกับตนเองอยู่ตลอดเวลา การที่บุคคลนั้นๆ จะมีสติกำกับตนเองอยู่ตลอดเวลา เขาจะต้องฝึกสัมมาสมาธิมาอย่างดีแล้วจนใจของเขาจรดหยุดนิ่งอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 และเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวตามลำดับจนเป็นพระอรหันต์ในที่สุด
2.ละชั่วทำดีทำใจให้ผ่องใส
การไม่ทำบาปทั้งสิ้น (ละชั่ว)
การยังกุศลให้ถึงพร้อม (ทำดี)
การทำจิตของตนให้ผ่องใส(ทำใจให้ผ่องใส)
3.ไตรสิกขา (อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา)
4.อนุปุพพิกถา เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของเวไนยสัตว์ให้หมดจดเป็นชั้น ๆ เมื่อผู้ฟังมีอัธยาศัยหมดจดดีแล้ว พร้อมที่จะบรรลุคุณธรรมพิเศษพระพุทธองค์จะทรงแสดงอริยสัจ 4 ด้วยเสมอ
ทาน แสดงให้เห็นประโยชน์ของการให้เพื่อละความเห็นแก่ตัวและความตระหนี่ รู้จักมีความเอื้อเฟอต่อผู้อื่น
ศีล แสดงประโยชน์แห่งศีล คือ ความประพฤติเรียบร้อยทางกาย ทางวาจา และงดเว้นจากการเบียดเบียนผู้อื่น
สวรรค์ แสดงความดีงามอันผู้ให้ทานและผู้มีศีลจะพึงได้รับในมนุษยโลก รวมถึงการเสวยความสุขในเทวโลก
กาม แสดงโทษของกามว่าแม้จะมีความสุขก็เป็นความสุขเพียงเล็กน้อย แต่มีความทุกข์มาก ทุกข์สิ้นกาลนาน ไม่ควรเพลิดเพลินหลงใหล
เนกขัมม แสดงอานิสงส์แห่งการออกจากกาม คือ ไม่หมกมุ่นในกามคุณ
5.ภาพรวมพระไตรปิฎก
พระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อขยายความแล้วจะได้มากถึง 84,000 ข้อ หรือ 84,000 พระธรรมขันธ์ โดยจัดอยู่ในพระวินัยปิฎก 21,000 ข้อ จัดอยู่ในพระสุตตันตปิฎก 21,000 ข้อ และจัดอยู่ในพระอภิธรรมปิฎก 42,000 ข้อ พระไตรปิฎกหากนำมาเชื่อมโยงกับไตรสิกขาและโอวาทปาฏิโมกข์จะได้ดังนี้คือ
พระวินัยปิฎก คือ ศีลสิกขา หรือ การไม่ทำบาปทั้งสิ้น
สุตตันตปิฎก คือ จิตสิกขา หรือ การยังกุศลให้ถึงพร้อม
พระอภิธรรมปิฎก คือ ปัญญาสิกขา หรือ การทำจิตของตนให้ผ่องใส
ฆราวาสธรรม 4 คือ
1. สัจจะ คือ ความจริง, ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทำจริง
2. ทมะ คือ การฝึกฝน, การข่มใจ ฝึกนิสัย ปรับตัว, รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดดัดนิสัย แก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา
3. ขันติ คือ ความอดทน, ตั้งหน้าทำหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง ทนทาน ไม่หวั่นไหว มั่นในจุดหมาย ไม่ท้อถอย
4. จาคะ คือ ความเสียสละ, สละกิเลส สละความสุขสบายและผลประโยชน์ส่วนตนได้ ใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟังความทุกข์ ความคิดเห็น และความต้องการของผู้อื่น พร้อมที่จะร่วมมือ ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่คับแคบเห็นแก่ตนหรือเอาแต่ใจตัว
อริยสัจ 4 (ทุกข์ -> อริยสัจ 5 -> นิพพานสุข)
ทุกข์ (ทุกข์ประจำและทุกข์จร โดยย่อคืออุปทานขันต์ 5)
ตัณหาคือสาเหตุแห่งทุกข์ (ตัณหา 3 หรือโลภะ)
ผลของการพ้นทุกข์คือนิพพานสุข
มรรคคือทางดับทุกข์ (มุ่งสู่นิพพาน)