นิวรณ์มี 5 อย่าง คือ
กามฉันทะ ความพอใจในกาม ( sensual desire ) หมายถึงกลุ่มอารมณ์ประเภท ความลุ่มหลง ความรักใคร่ ความต้องการทางเพศ การติดใจ ความต้องการ ความปรารถนา ความหลงใหลใฝ่ฝัน เป็นต้น
พยาบาท ความปองร้าย ( illwill ) หมายถึงกลุ่มอารมณ์ประเภท ความโกรธ ความเกลียด ความแค้น ความริษยา ความดูหมิ่น ความผูกใจเจ็บ ความขัดเคืองใจ เป็นต้น
ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหดหู่ ( sloth and torpor ) หมายถึงกลุ่มอารมณ์ประเภท ความเกียจคร้าน ท้อแท้ เศร้าซึม หมดหวัง เสียใจ หมดอาลัย ไร้กำลังใจ ไม่ฮึกเหิม เบื่อ เซ็ง เป็นต้น
อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ( distraction and remorse; flurry and worry; anxiety ) หมายถึงกลุ่มอารมณ์ประเภท วิตกกังวล ระแวง กลัว ความคิดซัดส่ายตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใด ๆ เป็นต้น
วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ( doubt; uncertainty) หมายถึงกลุ่มอารมณ์ประเภท ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้า ๆ กลัว ๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ เป็นต้น
นิวรณ์ 5 ประการประกอบด้วย
1. กามฉันทะ ความพึงใจในกาม คือ สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร น่าพอใจ
2. พยาบาท ความโกรธ ความเกลียด ความเคียดแค้น ที่ตกตะกอนอยู่ในใจ
3. ถีนมิทธะ ความง่วงเหงา ซึมเซา เซ็ง เบื่อ หน่าย
4. อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ
5. วิจิกิจฉา ความลังเล สงสัย ไม่แจ่มแจ้งกระจ่างในเรื่องราวต่างๆ
ขันธ์ 5 ประกอบด้วยกองรูปธรรม และนามธรรมทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
1. รูปขันธ์ หมายถึง กองรูป ส่วนที่เป็นร่างกาย พฤติกรรม คุณสมบัติต่างๆ ของร่างกาย และส่วนประกอบที่เป็นรูปธรรมทั้งหมด
2. เวทนาขันธ์ หมายถึง กองเวทนา ส่วนที่เป็นความรู้สึกทุกข์ สุข ดีใจ พอใจ
3. สัญญาขันธ์ หมายถึง กองสัญญา ส่วนที่เป็นการจำสิ่งที่ได้รับ
4. สังขารขันธ์ หมายถึง กองสังขาร ส่วนที่เป็นการคิดปรุงแต่ง โดยสามารถแยกแยะสิ่งที่รู้สึกหรือจดจำได้ 5. วิญญาณขันธ์ หมายถึง กองวิญญาณ หรือ จิต เป็นการรู้แจ้งถึงสิ่งต่างๆ ผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
ขันธ์ 5 คือ:
รูป (ร่างกาย)
เวทนา (ความรู้สึก)
สัญญา (ความจำ)
สังขาร (ความปรุงแต่ง)
วิญญาณ (จิต)
อินทรีย์ ๕
ศรัทธา - ศรัทธาตถาคต เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระองค์
วิริยะ - มีความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม
สติ - มีสติเป็นเครื่องรักษาตัว
สมาธิ - กระทำให้จิตมีอารมณ์เดียว
ปัญญา- มีปัญญา เห็นการเกิดดับ
อินทรีย์ 5 ที่จะเจริญจาก พละ 5 (1.สัทธา 2.ความเพียร 3.สติ 4.สมาธิ 5.ปัญญา) จนตั้งมั่นสมบูรณ์ ได้แก่
1. สัทธินทรีย์ คือ การตั้งมั่นในความเลื่อมใสต่อสิ่งที่ควรเลื่อมใส
2. วิริยินทรีย์ คือ การตั้งมั่นในความเพียรพยายาม
3. สตินทรีย์ คือ การตั้งมั่นในการระลึกได้
4. สมาธินทรีย์ คือ การตั้งมั่นในการกระทำจิตให้มีสมาธิ
5. ปัญญินทรีย์ คือ การตั้งมั่นในปัญญาหรือการรู้แจ้ง
กามคุณ 5
สิ่งที่น่าปรารถนา ชวนให้รักชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดยินดี มี 5 ชนิด คือ รูป (สิ่งที่ตามองเห็น) เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่กายสัมผัส) กามคุณ 5 นี้เป็นอารมณ์ คือสิ่งที่ยึดดึงใจให้ปรารถนา ให้รักใคร่ เป็นต้น จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "กามารมณ์" แปลว่า อารมณ์คือกามคุณ ไม่ได้หมายถึงอารมณ์ทางเพศเพียงอย่างเดียว
พละ หรือ พละ 5 คือ กำลังห้าประการ[1] ได้แก่
ศรัทธาพละ ความเชื่อ กำลังแห่งความเชื่อ ความศรัทธา
วิริยะพละ ความเพียร กำลังแห่งความเพียรพยายาม
สติพละ ความระลึกได้ กำลังแห่งสติ ระลึกรู้
สมาธิพละ ความตั้งใจมั่น กำลังแห่งใจที่ตั้งมั่น
ปัญญาพละ ความรอบรู้ กำลังแห่งความรู้ที่เกิดจากปัญญาญาณ
เป็นหลักธรรมที่คู่กับอินทรีย์ 5 คือศรัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ โดยมีความเหมือนความแตกต่างและความเกี่ยวเนื่องคือ พละ 5 เป็นธรรมที่กำจัดแก้อกุศลนิวรณ์ อินทรีย์เป็นธรรมเสริมสร้างกุศลอิทธิบาท
ดูกรมหานามะ กามคุณ ๕ ประการนี้ คือ
รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยตา...
เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู...
รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น...
กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก...
สัมผัสที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย...
แต่เมื่อใดเธอเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เมื่อนั้น เธอย่อมเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามเป็นแท้
องค์ฌาน 5 เป็นหลักการสำคัญในทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับการฝึกสมาธิ ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบที่ช่วยให้จิตสงบและเข้าถึงภาวะสมาธิที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้:
วิตกคือการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์และจดจ่ออยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง โดยวิตกช่วยขจัดอาการหดหู่และง่วงนอน ทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถมีสมาธิในการทำสมาธิได้ดียิ่งขึ้น.
วิจารคือการประคองจิตให้อยู่ในอารมณ์ที่เพ่งอยู่ โดยขจัดความลังเลสงสัยออกไป ทำให้ผู้ปฏิบัติไม่เกิดความสงสัยในสภาวธรรมที่ปรากฏ และสามารถเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจได้อย่างชัดเจน.
ปีติคือความรู้สึกยินดีที่เกิดขึ้นจากความสงบของจิต ซึ่งมีหลายประเภท เช่น ขุททกาปีติ (ปีติเล็กน้อย), ขณิกาปีติ (ปีติชั่วขณะ), และผรณาปีติ (ปีติซาบซ่าน) โดยปีติช่วยขจัดความคิดมุ่งร้ายและส่งเสริมความรู้สึกดีต่อผู้อื่น.
สุขคือความสุขใจที่เกิดขึ้นเมื่อจิตยกขึ้นสู่อารมณ์และประคองจิตอยู่ในอารมณ์นั้น ความสุขนี้เป็นความสุขที่เหนือกว่าความสุขทางโลกีย์ และช่วยให้ผู้ปฏิบัติมีสุขภาพจิตดีขึ้น.
เอกัคคตาคือความที่จิตเป็นสมาธิแน่วแน่ในอารมณ์เดียว ไม่คำนึงถึงอารมณ์อื่น ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการเข้าถึงภาวะสมาธิที่ลึกซึ้ง หากจิตยังฟุ้งซ่านหรือมีอารมณ์หลายอย่างก็ยังไม่ถือว่าเป็นเอกัคคตา